« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
ไอโซออกทิลอะคริเลตICSC: 1743 (มีนาคม 2009)
ไอโซออกทิลอะครีเลต
2-โพรพิโอนิกแอร์ซิด, ไอโซออกติลเอสเทอร์
อะครีลิกแอร์ซิด, ไอโซออกติลเอสเต
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 29590-42-9
UN #: 3082
EC Number: 249-707-8

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด การเผาไหม้  มากกว่า 91 องศาเซลเซียส (°C) จะทำให้เกิดการระเบิดจากไอระเหยหรือจากการผสมของอากาศ  ห้ามใกล้เปลวไฟ  เมื่ออุณหภูมิมากกว่า 91 องศาเซลเซียส (°C) ให้ใช้ระบบปิดและมีการระบายอากาศ  ใช้ water spray, ผงเคมี, alcohol-resistant foam, carbon dioxide.  ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของถังบรรจุสารเคมีให้เย็นด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้ถังบรรจุสารเคมีนั้น 

 หลีกเลี่ยงทุกการสัมผัสสารเคมีนี้!  
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ ไอ  ใช้ การระบายอากาศ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน 
ทางผิวหนัง ผื่นแดง  เสื้อผ้าป้องกัน ถุงมือป้องกัน  ให้ถอดเสื้อผ้าหรือชุดที่ปนเปื้อนออก ค่อย ๆ ชำระล้างผิวหนังด้วยน้ำและสบู่ 
ทางตา รอยแดง  สวมใส่ แว่นตานิรภัย  ค่อย ๆ รินน้ำสะอาดล้างตา (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออกก่อน ถ้าสามารถเอาคอนแทคเลนส์ออกได้)  
ทางปาก อาเจียน อันตรายจากการสำลัก  ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน  บ้วนปาก ให้ดื่มน้ำหนึ่งหรือสองแก้ว ไปพบแพทย์หากรู้สึกไม่สบาย โปรดอ่านข้อสังเกต 

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ใช้เครื่องช่วยการหายใจ (repirator) ที่ใช้ตัวกรองอากาศ (filter) สำหรับแก๊สอินทรีย์และไอระเหยในการป้องกันความเข้มข้นของสารในอากาศที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ ห้ามปล่อยสารเคมีนี้ออกสู่สิ่งแวดล้อม ให้เก็บของเหลวที่หกรั่วไหลในภาชนะที่มีการปิดมิดชิด ดูดซับของเหลวที่ยังเหลือคงค้างอยู่ด้วยทรายหรือสารดูดซับเฉื่อย ดังนั้น วิธีการจัดเก็บและวิธีการกำจัดทิ้งให้ขึ้นอยู่กับกฎที่ใช้ควบคุมในพื้นที่นั้น (local regulation) 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

cancer;health hazenviro;aqua
อันตราย
ของเหลวติดไฟ
ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังไม่ปานกลาง
อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองตา
อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง
อาจทำให้เสียชีวิตได้หากกลืนกินสารนี้หรือหายใจรับสารนี้เข้าสู่ร่างกาย
เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 9; หมายเลขของสหประชาชาติระบุกลุ่มของการหีบห่อสาร (UN Pack Group): III 

การเก็บ
จัดการการบำบัดน้ำเสียจากการดับเพลิง เก็บรักษาเมื่ออยู่ในภาวะเสถียร (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) เก็บรักษาในที่มืด มีการระบายอากาศตลอดทางเดิน เก็บรักษาในพื้นที่ที่ไม่มีการระบายหรือมีท่อระบายน้ำ 
การบรรจุ/การหีบห่อ
 
ไอโซออกทิลอะคริเลต ICSC: 1743
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นของเหลวไม่มีสี  

อันตรายทางกายภาพ
ไม่มีข้อมูล 

อันตรายทางเคมี
สารนี้อาจจะเกิดปฏิกิริยาพอลีเมอไรเซชัน หากถูกทำให้ร้อน สารสลายตัวเมื่อถูกทำให้ร้อน จะเกิดไอควัน (ฟูม) มีกลิ่นฉุนแสบ (กรดอะคริลิก, อะโครลีน) 

C11H20O2สูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 184.3
จุดเดือด : 196.8 องศาเซลเซียส
ความหนาแน่น: 0.9 g/cm³
ละลายในน้ำ (ได้น้อยมาก) ที่อุณหภูมิ 23°C: 0.001กรัมต่อ 100 มิลลิตร (g/100ml)
ความดันไอ ที่อุณหภูมิ 25°C: 133.3 ปาสกาล (Pa)
ความหนาแน่นของไอน้ำสัมพัทธ์ (อากาศ = 1): 6.4
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของส่วนผสมระหว่าง ไอระเหย/อากาศ (vapour/air-mixture) ที่อุณหภูมิ 20°C (อากาศ = 1): 1.01
จุดวาบไฟ : อุณหภูมิ 91°C c.c.
ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวของสารในชั้นน้ำและชั้นออกทานอล (log Pow): 3.93
ความหนืด : 2 อัตราส่วนของความหนาแน่นของความหนืด ตารางมิลลิเมตรต่อวินาที (mm²/s) ที่อุณหภูมิ 25°C 


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
สารนี้ ทำให้ระคายเคือง ต่อ ตา, ผิวหนัง และ ทางเดินหายใจ หากกลืนกินสารนี้ แล้วสำลัก สารนี้จะสามารถเข้าสู่ร่างกายทางทางเดินหายใจและมีผลทำให้เป็นโรคปอดอักเสบ 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ไม่มีข้อบ่งชี้อัตราความเข้มข้นที่เป็นอันตรายของสารนี้ในอากาศ เมื่อมีการระเหยที่อุณหภูมิ 20°C  

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
การได้รับสัมผัสสารนี้ซ้ำหรือได้รับเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง (skin sensitization) โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
 

สิ่งแวดล้อม
สารนี้มีพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ต้องไม่แพร่สารนี้ออกสู่สิ่งแวดล้อม 

ข้อสังเกต
อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดปฏิกิริยาข้ามกลุ่มกับกลุ่มสารอะครีเลตอื่น
ไม่นำเสื้อผ้าที่ใช้ทำงานกลับไปบ้าน
ถ้ามีอาการหายใจลำบาก และ/หรือ มีไข้ ให้รีบไปพบแพทย์
การใส่สารกระตุ้นหรือใส่สารยับยั้งจะมีผลต่อสมบัติความเป็นพิษของสาร จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
adequatelyยังไม่มีการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสสารนี้ 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
สัญลักษณ์ : Xi, N; R: 36/37/38-50/53; S: (2)-26-28-60-61 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล