« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
โซเดียมไดซัลไฟต์ICSC: 1461 (ธันวาคม 2022)
โซเดียมไดซัลไฟต์
ไดโซเดียมไดซัลไฟต์
ไดโซเดียมไพโรซัลไฟต์
โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 7681-57-4
UN #: 1759
EC Number: 231-673-0

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไม่สันดาป ปล่อยไอควันหรือแก๊สที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นพิษจากการเกิดเพลิงไหม้  เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และระเบิดเมื่อสัมผัสกับกรด สารออกซิแดนซ์  ห้ามสัมผัสกับกรด สารออกซิไดซ์อย่างแรง  ห้ามการสัมผัสกับสารที่เข้ากันไม่ได้ โปรดอ่านในส่วนของ "อันตรายจากสารเคมี (Chemical Danger)"  ในกรณีที่มีเพลิงไหม้โดยรอบ ให้ใช้สารดับเพลิงที่เหมาะสม   

 ป้องกันการแพร่กระจายของฝุ่น  
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ ไอ หายใจสั้น หายใจมีเสียงหวีด  ใช้ การระบายอากาศ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ควรผายปอด ส่งต่อแพทย์ 
ทางผิวหนัง ผื่นแดง  ถุงมือป้องกัน  ค่อย ๆ รินน้ำเปล่าล้างผิวหนัง หรือใช้ฝักบัวในการชะล้าง 
ทางตา รอยแดง รู้สึกแสบร้อน ความเจ็บปวด  สวมใส่ แว่นครอบตานิรภัย  ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) นำส่งแพทย์ 
ทางปาก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน  ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน  บ้วนปาก ส่งต่อไปพบแพทย์  

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ใช้เครื่องช่วยการหายใจ (repirator) ที่ใช้ตัวกรองอากาศ (filter) สำหรับแก๊สกรด (acid gases) และไอระเหยในการป้องกันความเข้มข้นของสารในอากาศที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ ให้เก็บของเหลวที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดทำด้วยวัสดุที่ไม่ใช่โลหะเท่าที่จะทำได้ ดูดซับของเหลวด้วยทรายหรือตัวดูุดฃับเฉื่อย ให้ล้างสารที่ยังตกค้างด้วยน้ำเปล่า ดังนั้น วิธีการจัดเก็บและวิธีการกำจัดทิ้งให้ขึ้นอยู่กับกฎที่ใช้ควบคุมในพื้นที่นั้น (local regulation) 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

correxcl mark;warn
อันตราย
เป็นอันตรายหากกลืนกินสารนี้
ก่อให้เกิดการทำลายตาอย่างรุนแรง
เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 8; หมายเลขของสหประชาชาติระบุกลุ่มของการหีบห่อสาร (UN Pack Group): I, II, III 

การเก็บ
แยกจาก acids, strong oxidants และ food and feedstuffs มีการปิดผนึก 
การบรรจุ/การหีบห่อ
 
โซเดียมไดซัลไฟต์ ICSC: 1461
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะเป็นผง สีขาว ที่มีกลิ่นเฉพาะ 

อันตรายทางกายภาพ
 

อันตรายทางเคมี
สารนี้จะสลายตัว เมื่อถูกทำให้ร้อนและสัมผัสกับกับ กรด จะเกิดสารซัลเฟอร์ออกไซด์ สารนี้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเจ้นท์อย่างแรง สารนี้มีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับออกซิแดนซ์ สารนี้จะก่อให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้ สารนี้อย่างรุนแรง จะมีปฏิกิริยากับ สารละลายเข้มข้นของสารโซเดียมไนไตรต์ 

Na2O5S2/Na2S2O5สูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 190.1
ย่อยสลายหรือแตกตัว ที่ 150°C
ความหนาแน่น: 2.36 g/cm³
ละลายในน้ำ (ได้ดี) ที่อุณหภูมิ 20°C: 65กรัมต่อ 100 มิลลิตร (g/100ml)
ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวของสารในชั้นน้ำและชั้นออกทานอล (log Pow): -3.7  


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
สารนี้ ทำให้ระคายเคือง รุนแรง ต่อ ตา สารนี้ ทำให้ระคายเคือง ต่อ ผิวหนัง, ทางเดินหายใจ และ ทางกระเพาะอาหารและลำไส้ การได้รับสัมผัสสารนี้ สามารถทำให้บุคคลที่ไวต่อสิ่งเร้ามีอาการคล้ายหอบหืดหรือเป็นลมพิษ. 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สารนี้ระเหยได้เล็กน้อย ความเข้มข้นของอนุภาคจะถึงระดับความเข้มข้นที่เป็นอันตรายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นผงฝุ่น 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
หากหายใจรับสารนี้ อาจก่อให้เกิดอาการคล้ายเป็นโรคหอบหืด สารนี้อาจมีผลกระทบต่อ ผิวหนัง 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
TLV: 5 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3), กรณีค่าเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน (TWA); A4 (not classifiable as a human carcinogen) 

สิ่งแวดล้อม
สารนี้มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ 

ข้อสังเกต
ค่อยๆรินน้ำเปล่าชะล้างเสื้อผ้าืั้ปนเปื้อนสารนี้เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้ได้
ผู้ที่มีอาการหอบหืดจากสารนี้ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารนี้
มักไม่มีอาการหอบหืดปรากฏชัดเจนจนกว่าระยะเวลา 2 - 3 ชั่วโมงผ่านไป และอาการหอบหืดจะกำเริบขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือออกแรง จึงจำเป็นต้องมีการพักและมีการสังเกตทางการแพทย์
เนื่องจากไม่มีข้อมูลเฉพาะของสารนี้ ดังนั้นข้อมูลที่อยู่ในการ์ด (card) นี้จึงนำข้อมูลของสารโซเดียมไบซัลไฟต์ที่มีความคล้ายคลึงกันมาใช้แทน 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
สัญลักษณ์ : Xn; R: 22-31-41; S: (2)-26-39-46 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล