โอเลียม | ICSC: 1447 (พฤศจิกายน 2016) |
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 8014-95-7 |
UN #: 1831 |
อันตรายเฉียบพลัน | การป้องกัน | การระงับอัคคีภัย | |
---|---|---|---|
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด | ไม่สันดาป การเกิดปฏิกิริยาอย่างมากอาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้หรือการระเบิดได้ ปล่อยไอควันหรือแก๊สที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นพิษจากการเกิดเพลิงไหม้ เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และระเบิดเมื่อสัมผัสกับเบส สารไวไฟ ตัวรีดิวซ์ น้ำ สารอินทรีย์ | ห้ามการสัมผัสกับสารที่เข้ากันไม่ได้ โปรดอ่านในส่วนของ "อันตรายจากสารเคมี (Chemical Danger)" | ไม่ใช้ น้ำ ในกรณีที่มีเพลิงไหม้โดยรอบ ให้ใช้สารดับเพลิงที่เหมาะสม ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของถังบรรจุสารเคมีให้เย็นด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้ถังบรรจุสารเคมีนั้น ห้ามให้สารสัมผัสกับน้ำโดยตรง |
ป้องกันการปล่อยละอองสารเคมี หลีกเลี่ยงทุกการสัมผัสสารเคมีนี้! ทุกรายที่ได้รับสัมผัสสารนี้ควรปรึกษาแพทย์ | |||
---|---|---|---|
อาการแสดง | การป้องกัน | การปฐมพยาบาล | |
ทางการหายใจ | ไอ เจ็บคอ รู้สึกปวดแสบปวดร้อน หายใจสั้น หายใจลำบาก | ใช้ การระบายอากาศ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ | อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน ควรผายปอด ส่งต่อแพทย์ทันที |
ทางผิวหนัง | ผื่นแดง เจ็บปวด แผล ผิวหนังไหม้รุนแรง | ถุงมือป้องกัน เสื้อผ้าป้องกัน ผ้ากันเปื้อน | ให้สวมถุงมือเพื่อป้องกันมือขณะทำการปฐมพยาบาล ขั้นตอนแรกให้ค่อยๆ ชำระล้างด้วยน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที จากนั้นให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกแล้วค่อยๆ ชำระล้างผิวหนังด้วยน้ำอีกครั้ง ส่งต่อให้แพทย์ตรวจอาการทันที |
ทางตา | รอยแดง ความเจ็บปวด ตาพร่า แผลไหม้รุนแรง | สวมใส่ กระบังหน้า อุกรณ์ป้องกันดวงตา ในการป้องกันการหายใจแบบผสมผสาน | ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) นำส่งแพทย์ทันที |
ทางปาก | รู้สึกแสบร้อนในปากและลำคอ behind the breastboneมึนงง ปวดท้อง อาเจียน ช็อกหรือแฟบ | ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน | บ้วนปาก ไม่ให้ดื่มน้ำหรือของเครื่องดื่มใดๆ ไม่ทำให้อาเจียน ส่งต่อไปพบแพทย์ทันที |
การกำจัดทิ้ง | การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์ |
---|---|
อพยพออกจากพื้นที่อันตราย! ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ชุดป้องกันสารเคมีซึ่งมีเครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศในตัว (self-contained breathing apparatus: SCBA) ห้ามปล่อยสารเคมีนี้ออกสู่สิ่งแวดล้อม ห้ามดูดซับในขี้เลื่อยหรือสารดูดซับที่ติดไฟได้อื่นๆ ให้เก็บชองเหลวที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดผนึก ดูดซับของเหลวที่ยังเหลือคงค้างอยู่ด้วยทรายแห้งหรือสารดูดซับเฉื่อย ดังนั้น วิธีการจัดเก็บและวิธีการกำจัดทิ้งให้ขึ้นอยู่กับกฎที่ใช้ควบคุมในพื้นที่นั้น (local regulation) ให้ตระหนักถึงการทำให้เป็นกลางอย่างระมัดระวังด้วยหินปูนหรือ โซดาแอช (soda ash) |
ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria) ![]() ![]() อันตราย
อาจเสียชีวิตได้หากหายใจสารนี้เข้าสู่ร่างกายก่อให้เกิดผิวหนังไหม้รุนแรงและทำลายตา อาจระคายเคืองทางเดินหายใจ อาจกัดกร่อนโลหะ โปรดอ่านข้อสังเกต การขนส่ง |
การเก็บ | |
เก็บในที่แห้ง แยกจาก food and feedstuffs และ incompatible materials (โปรดอ่านอันตรายจากสารเคมีเพิ่มเติม) เก็บรักษาในบรรจุภัณฑ์เดิม มีการระบายอากาศตลอดทางเดิน | |
การบรรจุ/การหีบห่อ | |
ภาชนะบรรจุที่ทนทานไม่แตกหัก ใส่หีบห่อที่แตกง่ายลงในภาชนะบรรจุที่มีคุณสมบัติทนทานไม่แตกหัก อัดลม ไม่ขนส่งร่วมกับอาหารและภาชนะสำหรับบรรจุอาหาร หรือภาชนะบรรจุสำหรับให้อาหาร |
โอเลียม | ICSC: 1447 |
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี | |
---|---|
สถานะทางกายภาพของสาร
อันตรายทางกายภาพ
อันตรายทางเคมี
|
H2SO4.O3Sสูตรโมเลกุล |
การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ | |
---|---|
ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
|
ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
|
ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน) |
---|
สิ่งแวดล้อม |
---|
สารนี้มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ |
ข้อสังเกต |
---|
อาการปอดบวมจะยังไม่แสดงชัดเจนกว่าเวลาผ่านไปสองชั่วโมงภายหลังการได้รับการบาดเจ็บ ดังนั้นการให้พักผ่อนและมีการสังเกตอาการทางการแพทย์จึงเป็นสิ่งจำเป็น องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ได้พิจารณาแล้วว่า ละอองของกรดอนินทรีย์เข้มข้น (mists of strong inorganic acid) เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (group 1) อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลความเป็นพิษก่อมะเร็งของสารนี้ที่มีลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ ดังนั้น จึงไม่มีการจำแนกความเป็นพิษก่อมะเร็งสำหรับสารนี้ภายใต้เกณฑ์ของ GHS ไม่เทน้ำลงบนสาร เมื่อต้องการละลายสารหรือเจือจางสารให้ค่อย ๆ เติมน้ำอย่างช้า ๆ ปริมาณของซัลเฟอร์ไตรออกไซด์อิสระอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสมบัติทางกายภาพ ด้วยเหตุนี้ ในการ์ด (card) จึงไม่มีการระบุน้ำหนักโมเลกุล (molecular weight) ของสารนี้ มีรายงานว่าค่าของความดันไอมีความแตกต่างกันอย่างมาก จุดเดือดของสารละลาย (% SO_3) ได้แก่ 20% SO มีจุดเดือด 138 องศาเซลเซียส (°C) 30% SO มีจุดเดือด 116 องศาเซลเซียส (°C) และ 65% SO มีจุดเดือด 60 องศาเซลเซียส (°C) มีจุดหลอมเหลวแตกต่างไปตามระดับเปอร์เซนต์ของซัลเฟอร์ออกไซด์ (% SO_3)ได้แก่ 2 องศาเซลเซียส สำหรับ 20% SO 21 เซลเซียส สำหรับ 30% SO 5 องศาเซลเซียส สำหรับ 65% SO โปรดอ่าน ICSCs 0362 และ 1202 |
ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม | ||
---|---|---|
EC Classification สัญลักษณ์ : C; R: 14-35-37; S: (1/2)-26-30-45; โปรดดูข้อสังเกต: B |
(th) | ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล |