« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
ฟลูออโรซิลิซิกแอร์ซิด หรือ กรดฟลูออโรคซิลิซิกICSC: 1233 (ตุลาคม 2004)
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 16961-83-4
UN #: 1778
EC Number: 241-034-8

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไม่สันดาป ปล่อยไอควันหรือแก๊สที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นพิษจากการเกิดเพลิงไหม้        ในกรณีที่มีเพลิงไหม้โดยรอบ ให้ใช้สารดับเพลิงที่เหมาะสม   

 หลีกเลี่ยงทุกการสัมผัสสารเคมีนี้! ทุกรายที่ได้รับสัมผัสสารนี้ควรปรึกษาแพทย์ 
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ รู้สึกปวดแสบปวดร้อน ไอ หายใจลำบาก หายใจสั้น อาการอาจปรากฏช้า โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม  ใช้ การระบายอากาศ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน ส่งต่อแพทย์ 
ทางผิวหนัง ผื่นแดง เจ็บปวด ผิวหนังไหม้  ถุงมือป้องกัน เสื้อผ้าป้องกัน  ให้ถอดเสื้อผ้าหรือชุดที่ปนเปื้อนออก ค่อย ๆ รินน้ำเปล่าล้างผิวหนัง หรือใช้ฝักบัวในการชะล้าง ส่งต่อให้แพทย์ตรวจอาการทันที 
ทางตา รอยแดง ความเจ็บปวด แผลไหม้รุนแรง  สวมใส่ กระบังหน้า อุกรณ์ป้องกันดวงตา ในการป้องกันการหายใจแบบผสมผสาน  ขั้นแรกให้ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) จากนั้นให้นำส่งแพทย์ 
ทางปาก มึนงง เป็นตะคริวที่ท้อง ท้องเกร็ง อาเจียน ช็อกหรือแฟบ  ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน  บ้วนปาก ไม่ทำให้อาเจียน ให้ดื่มน้ำหนึ่งหรือสองแก้ว ส่งต่อไปพบแพทย์  

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ชุดป้องกันที่ครบสมบูรณ์พร้อมด้วยเครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศในตัว (self-contained breathing apparatus: SCBA) ให้เก็บของเหลวที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่มีการปิดผนึกแน่นทำด้วยวัสดุที่เป็นเหล็กหรือเท่าที่จะทำได้ ดูดซับของเหลวที่ยังเหลือคงค้างอยู่ด้วยทรายหรือสารดูดซับเฉื่อย ดังนั้น วิธีการจัดเก็บและวิธีการกำจัดทิ้งให้ขึ้นอยู่กับกฎที่ใช้ควบคุมในพื้นที่นั้น (local regulation) ห้ามปล่อยสารเคมีนี้ออกสู่สิ่งแวดล้อม 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 8; หมายเลขของสหประชาชาติระบุกลุ่มของการหีบห่อสาร (UN Pack Group): II 

การเก็บ
แยกจาก strong bases และ food and feedstuffs มีการปิดผนึก 
การบรรจุ/การหีบห่อ
ภาชนะบรรจุที่ทนทานไม่แตกหัก
ใส่หีบห่อที่แตกง่ายลงในภาชนะบรรจุที่มีคุณสมบัติทนทานไม่แตกหัก
ไม่ขนส่งร่วมกับอาหารและภาชนะสำหรับบรรจุอาหาร หรือภาชนะบรรจุสำหรับให้อาหาร 
ฟลูออโรซิลิซิกแอร์ซิด หรือ กรดฟลูออโรคซิลิซิก ICSC: 1233
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นของเหลวมีไอควัน ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน 

อันตรายทางกายภาพ
 

อันตรายทางเคมี
สารสลายตัวเมื่อถูกทำให้ร้อน สารนี้จะสร้างไอควันพิษ (ฟูมพิษ) รวมทั้ง สารไฮโดรเจนฟลูออไรด์ สารละลายในน้ำ เป็น กรดแก่ สารนี้มีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับเบส และกัดกร่อน สารนี้ จะมีปฏิกิริยากับ น้ำ และ ไอน้ำ สารนี้จะสร้างไอควัน (ฟูม) ที่มีพิษและมีฤทธิ์กัดกร่อน ทำลาย แก้ว และ ภาชนะที่ทำจากหิน ทำลาย โลหะจำนวนมาก จะเกิดแก๊สไวไฟ/แก๊สระเบิด (ไฮโดรเจน - (โปรดอ่านการ์ด ICSC 0001) สารนี้ เมื่อมีการแยกตัวออกจากกันอย่างรวดเร็วจะกลายเป็นสารซิลิคอนเตตระฟลูออไรด์ (silicon tetrafluoride) และสารไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (hydrogen fluoride) ที่มีพิษและเป็นสารกัดกร่อน 

F6H2Si / H2SiF6สูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 144.1
ย่อยสลายหรือแตกตัว
จุดหลอมเหลว : โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (น้ำ = 1): โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม
ละลายในน้ำ: ผสมกันได้
ความดันไอ (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) 


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเอาอนุภาคของสารนี้เข้าสู่ร่างกาย และ โดยการรับประทาน 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
สารนี้ จะกัดกร่อน ตา หากรับประทานจะเกิดการกัดกร่อนทางเดินอาหาร หากหายใจได้รับ ไอระเหย อาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ ผลกระทบต่อสุขภาพอาจปรากฏช้า ควรให้แพทย์ตรวจอาการ (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ไม่มีข้อบ่งชี้อัตราความเข้มข้นที่เป็นอันตรายของสารนี้ในอากาศ เมื่อมีการระเหยที่อุณหภูมิ 20°C  

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
สารนี้อาจมีผลกระทบต่อ กระดูก และ ฟัน สารนี้อาจมีผลต่อfluorosis 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
 

สิ่งแวดล้อม
aquatic organismsสารนี้อาจเป็นอัตรายต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ควรให้ความสนใจแสดงไว้ใน 

ข้อสังเกต
สารนี้ที่มีการค้าขายจะอยู่ในรูปของสารละลายในน้ำเท่านั้น
จุดแข็งตัวสำหรับ 60-70% สารละลายกลายไปเป็นผลึกไดไฮเดรต (crystalline dihydrate) อยู่ที่อุณหภูมิ 19 องศาเซลเซียส (°C)
จุดหลอมเหลวอื่น ได้แก่ <-30 องศาเซลเซียส (°C) สำหรับ (สารที่เป็น 35%สารละลาย)
ความหนาแน่นสัมพัทธ์สำหรับสารละลาย 61% คือ 1.46 และความหนาแน่นสัมพัทธ์สำหรับสารละลาย 35 % คือ 1.38
ความดันไอสำหรับสารละลาย 35 % จะอยู่ที่ระดับ 3 กิโลปาสกาล (kPa)
อาการปอดบวมจะยังไม่แสดงชัดเจนกว่าเวลาผ่านไปสองชั่วโมงภายหลังการได้รับการบาดเจ็บ ดังนั้นการให้พักผ่อนและมีการสังเกตอาการทางการแพทย์จึงเป็นสิ่งจำเป็น
ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิสำหรับเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของสารในเอกสารใด ๆ
ควรพิจารณาการให้การบำบัดการหายใจโดยแพทย์หรือโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการ 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
สัญลักษณ์ : C; R: 34; S: (1/2)-26-27-45; โปรดดูข้อสังเกต: B 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล