« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
ไดคลอโรโมโนฟลูออโรมีเทนICSC: 1106 (ตุลาคม 1999)
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 75-43-4
UN #: 1029
EC Number: 200-869-8

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไม่สันดาป ปล่อยไอควันหรือแก๊สที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นพิษจากการเกิดเพลิงไหม้        ในกรณีที่มีเพลิงไหม้โดยรอบ ให้ใช้สารดับเพลิงที่เหมาะสม  ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของภาชนะบรรจุสารเคมีด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้กับภาชนะเก็บสารเคมีนั้น 

   
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ สับสน เซื่องซึม หมดสติ  ใช้ การระบายอากาศ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ควรผายปอด ส่งต่อแพทย์ 
ทางผิวหนัง เมื่อสัมผัสกับของเหลว: แผลน้ำแข็งกัด  ถุงมือป้องกันความเย็น เสื้อผ้าป้องกัน  ในกรณีเป้นแผลน้ำแข็งกัด: ให้ค่อยๆ ล้างด้วยน้ำ โดยไม่ต้องถอดเสื้อผ้าออก ส่งต่อ ไปพบแพทย์เพื่อให้การรักษา  
ทางตา   สวมใส่ แว่นครอบตานิรภัย อุกรณ์ป้องกันดวงตา ในการป้องกันการหายใจแบบผสมผสาน  ขั้นแรกให้ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) จากนั้นให้นำส่งแพทย์ 
ทางปาก   ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน   

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : เครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศในตัว (self-contained breathing apparatus: SCBA) ห้ามปล่อยสารเคมีนี้ออกสู่สิ่งแวดล้อม การระบายอากาศ (Ventilation) ไม่ฉีดน้ำโดยตรงไปยังของเหลว 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 2.2 

การเก็บ
เก็บรักษาในอาคารที่มีความคงทนต่อไฟ 
การบรรจุ/การหีบห่อ
 
ไดคลอโรโมโนฟลูออโรมีเทน ICSC: 1106
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางงกายภาพเป็นแก๊สไม่มีสีหรือแก๊สเหลวภายใต้ความดัน มีกลิ่นเฉพาะ 

อันตรายทางกายภาพ
แก๊สหนักกว่าอากาศและอาจสะสมในพื้นที่ด้านล่างซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน 

อันตรายทางเคมี
สารสลายตัวเมื่อถูกทำให้ร้อน จะเกิดไอควัน (ฟูม) ที่มีพิษร้ายแรงและมีฤทธิ์กัดกร่อน (ไฮโดรเจนคลอไรด์ - โปรดอ่าน ICSC 0163 ไฮโดรเจนฟลอออไรด์ - โปรดอ่าน ICSC 0283 และฟอสจีน - โปรดอ่าน ICSC 0007) สารนี้ จะมีปฏิกิริยากับ ผงอะลูมิเนียมหรืออะลูมิเนียมผง สังกะสี และ สารแมกนีเซียม สารนี้ จะมีปฏิกิริยากับ กรด และ ไอควันกรด (ฟูมกรด) สารนี้จะสร้างไอควันพิษ (ฟูมพิษ) อย่างมาก ของสารคลอไรด์ และสารฟลูออไรด์ ทำลาย บางรูปของพลาสติก, ยาง และ การเคลือบ 

CHCl2Fสูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 102.9
จุดเดือด : 8.9 องศาเซลเซียส
จุดหลอมเหลว : -135°C
ละลายในน้ำ (ได้น้อย) ที่อุณหภูมิ 20°C: 1กรัมต่อ 100 มิลลิตร (g/100ml)
ความดันไอ ที่อุณหภูมิ 21°C: 159 กิโลปาสกาล (kPa)
ความหนาแน่นของไอน้ำสัมพัทธ์ (อากาศ = 1): 3.8
อุณหภุูมิที่ติดไฟได้เอง: 522°C
ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวของสารในชั้นน้ำและชั้นออกทานอล (log Pow): 1.55  


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
ของเหลวอาจก่อให้เกิดแผลจากความเย็นจัด สารนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง at high concentrations การได้รับสัมผัสสารนี้มากไปกว่าค่า OEL สามารถทำให้มีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ. 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
หากไม่มีการจัดเก็บหรือสูญเสียการจัดเก็บจะมีผลทำให้ความเข้มข้นแก๊สนี้ในอากาศอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายอย่างรวดเร็วมาก 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
สารนี้อาจมีผลกระทบต่อ ตับ 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
TLV: 10 ส่วนในล้านส่วน (ppm) กรณีค่าเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน (TWA).
MAK: 43 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3), 10 ส่วนต่อล้านส่วน (ppm); ประเภทของขีดจำกัดสูงสุด (peak limitation category): II(2) 

สิ่งแวดล้อม
หลีกเลี่ยงการปลดปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมเพราะจะมีผลกระทบต่อชั้นของโอโซน 

ข้อสังเกต
สารนี้หากมีความเข้มข้นสูงในอากาศจะก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการหมดสติหรือเสียชีวิต
ตวจสอบปริมาณของออกซิเจนก่อนเข้าไปยังบริเวณดังกล่าว
เป็นสารที่ไม่มีกลิ่นเตือนถึงระดับของความเข้มข้นที่เป็นพิษของสาร
ห้ามใช้ในบริเวณใกล้เคียงไฟหรือพื้นผิวที่ร้อน หรือระหว่างการเชื่อม
หมุนกระบอกสูบหรือถังเก็บทรงกระบอกด้านที่มีรอยรั่วขึ้นเพื่อป้องกันการรั่วไหลของแก๊สที่มีอยู่ในของเหลวในกระบอกสูบหรือถังเก็บทรงกระบอก 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล