« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
ไซโคลเฮกเซนICSC: 1054 (ตุลาคม 1999)
ไซโคลเฮกเซน
เบนซีนเตตระไฮไดรด์
เฮกซะแนปทาลีน
เตตระไฮโดรเบนซีน
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 110-83-8
UN #: 2256
EC Number: 203-807-8

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไวไฟสูง  ไอระเหย/ส่วนผสมของอากาศทำให้ระเบิด  ห้ามใกล้เปลวไฟ ห้ามใกล้ประกายไฟ และห้ามสูบบุหรี่  ระบบปิด ระบายอากาศ อุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันระเบิดและไฟฉายป้องกันการระเบิด ป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้าสถิต (เช่น มีสายดิน เป็นต้น) ห้ามใช้อากาศอัดในการบรรจุสาร การถ่ายเท หรือ การขนย้าย ใช้เครื่องมือชนิดที่ไม่เกิดประกายไฟ  ใช้ water spray, powder, foam, carbon dioxide.  ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของถังบรรจุสารเคมีให้เย็นด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้ถังบรรจุสารเคมีนั้น 

 ป้องกันการปล่อยละอองสารเคมี  
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ ไอ เซื่องซึม  ใช้ การระบายอากาศ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน 
ทางผิวหนัง ผื่นแดง ผิวแห้ง  ถุงมือป้องกัน  ให้ถอดเสื้อผ้าหรือชุดที่ปนเปื้อนออก ค่อย ๆ ชำระล้างผิวหนังด้วยน้ำและสบู่ 
ทางตา รอยแดง  สวมใส่ แว่นตานิรภัย  ขั้นแรกให้ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) จากนั้นให้นำส่งแพทย์ 
ทางปาก เซื่องซึม หายใจลำบาก คลื่นไส้    บ้วนปาก ไม่ทำให้อาเจียน ส่งต่อไปพบแพทย์  

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ใช้เครื่องช่วยการหายใจ (repirator) ที่ใช้ตัวกรองอากาศ (filter) สำหรับแก๊สอินทรีย์และไอระเหยในการป้องกันความเข้มข้นของสารในอากาศที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ เขจัดแหล่งกำเนิดประกายไฟทั้งหมด ให้เก็บของเหลวที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่มีการปิดผนึกแน่นหรือเท่าที่จะทำได้ ดูดซับของเหลวที่ยังเหลือคงค้างอยู่ด้วยทรายหรือสารดูดซับเฉื่อย ดังนั้น วิธีการจัดเก็บและวิธีการกำจัดทิ้งให้ขึ้นอยู่กับกฎที่ใช้ควบคุมในพื้นที่นั้น (local regulation) ห้ามล้างสารเคมีลงสู่ท่อระบายน้ำ 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 3; หมายเลขของสหประชาชาติระบุกลุ่มของการหีบห่อสาร (UN Pack Group): II 

การเก็บ
มีความคงทนต่อไฟ แยกจาก strong oxidants อยู่ในที่เย็น มีการปิดผนึก เก็บรักษาเมื่ออยู่ในภาวะเสถียร 
การบรรจุ/การหีบห่อ
 
ไซโคลเฮกเซน ICSC: 1054
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นของเหลว ไม่มีสี มีกลิ่นเฉพาะ 

อันตรายทางกายภาพ
ไอระเหยหนักกว่าอากาศและอาจเคลื่อนตัวเหนือพื้น ซึ่งอาจเกิดการลุกไหม้ระหว่างทางได้ เนื่องจากผลของการไหล การเขย่า และอื่นๆ จะก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ 

อันตรายทางเคมี
สารนี้สามารถกลายเป็นสารในรูปของสารเพอร์ออกไซด์ (peroxides) ซึ่งเป็นสารระเบิด สารนี้อาจจะเกิดปฏิกิริยาพอลีเมอไรเซชัน ภายใต้สภาวะที่เป็นเงื่อนไข 

C6H10สูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 82.14
จุดเดือด : 83 องศาเซลเซียส
จุดหลอมเหลว : -104°C
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (น้ำ = 1): 0.81
ละลายในน้ำ: ไม่ระบุ
ความดันไอ ที่อุณหภูมิ 20°C: 8.9 กิโลปาสกาล (kPa)
ความหนาแน่นของไอน้ำสัมพัทธ์ (อากาศ = 1): 2.8
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของส่วนผสมระหว่าง ไอระเหย/อากาศ (vapour/air-mixture) ที่อุณหภูมิ 20°C (อากาศ = 1): 1.16
จุดวาบไฟ : อุณหภูมิ -6°C c.c.
อุณหภุูมิที่ติดไฟได้เอง: 244°C
ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวของสารในชั้นน้ำและชั้นออกทานอล (log Pow): 2.86  


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ และ โดยการรับประทาน 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
สารนี้ ทำให้ระคายเคือง ต่อ ตา, ผิวหนัง และ ทางเดินหายใจ หากกลืนกินของเหลวของสารนี้ แล้วสำลักเข้าสู่ปอดอาจมีผลทำให้ปอดอักเสบจากสารเคมี สารนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สารอันตรายนี้จะระเหยปนเปื้อนในอากาศค่อนข้างช้า  

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
สารนี้มีผลต่อผิวหนัง โดยทำให้ผิวหนังแห้งหรือแตก 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
TLV: 20 ส่วนในล้านส่วน (ppm) กรณีค่าเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน (TWA) 

สิ่งแวดล้อม
 

ข้อสังเกต
การใส่สารกระตุ้นหรือใส่สารยับยั้งจะมีผลต่อสมบัติความเป็นพิษของสาร จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ควรตรวจสอบสารเปอร์ออกไซด์ก่อนทำการกลั่นเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล