« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
คลอโรซัลโฟนิกแอร์ซิด หรือ กรดคลอโรซัลโฟนิกICSC: 1039 (ตุลาคม 2001)
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 7790-94-5
UN #: 1754
EC Number: 232-234-6

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไม่ได้เป็นสารที่สันดาปได้แต่เป็นสารที่เพิ่มการสันดาปของสารอื่น การเกิดปฏิกิริยาอย่างมากอาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้หรือการระเบิดได้ ปล่อยไอควันหรือแก๊สที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นพิษจากการเกิดเพลิงไหม้  เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และระเบิดเมื่อสัมผัสกับสารหลายชนิด  ห้ามสัมผัสกับแอลกอฮอล์ สารติดไฟ สารรีดิวซ์ น้ำ    ในกรณีที่มีเพลิงไหม้โดยรอบ ให้ใช้สารดับเพลิงที่เหมาะสม  ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของถังบรรจุสารเคมีให้เย็นด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้ถังบรรจุสารเคมีนั้น ไม่ใช้น้ำดับไฟโดยตรง 

 ป้องกันการปล่อยละอองสารเคมี หลีกเลี่ยงทุกการสัมผัสสารเคมีนี้! ทุกรายที่ได้รับสัมผัสสารนี้ควรปรึกษาแพทย์ 
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ เจ็บคอ ไอ รู้สึกปวดแสบปวดร้อน หายใจสั้น หายใจลำบาก อาการอาจปรากฏช้า โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม  ใช้ การระบายอากาศ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน ควรผายปอด ส่งต่อแพทย์ 
ทางผิวหนัง เจ็บปวด ผื่นแดง ผิวหนังไหม้รุนแรง  ถุงมือป้องกัน เสื้อผ้าป้องกัน  ให้ถอดเสื้อผ้าหรือชุดที่ปนเปื้อนออก ค่อย ๆ รินน้ำเปล่าล้างผิวหนัง หรือใช้ฝักบัวในการชะล้าง ส่งต่อ ไปพบแพทย์เพื่อให้การรักษา  
ทางตา ความเจ็บปวด รอยแดง แผลไหม้รุนแรง  สวมใส่ กระบังหน้า อุกรณ์ป้องกันดวงตา ในการป้องกันการหายใจแบบผสมผสาน  ขั้นแรกให้ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) จากนั้นให้นำส่งแพทย์ 
ทางปาก มึนงง ปวดท้อง คลื่นไส้ ช็อกหรือแฟบ  ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร  บ้วนปาก ไม่ทำให้อาเจียน ให้ดื่มน้ำหนึ่งหรือสองแก้ว ส่งต่อไปพบแพทย์  

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
อพยพออกจากพื้นที่อันตราย! ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ชุดป้องกันที่ครบสมบูรณ์พร้อมด้วยเครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศในตัว (self-contained breathing apparatus: SCBA) การระบายอากาศ (Ventilation) ให้เก็บชองเหลวที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดผนึก ให้ตระหนักถึงการทำให้เป็นกลางอย่างระมัดระวังด้วยสารอัลคาไลน์, หินปูนบด, สารโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือ โซดาแอช (soda ash) ให้ล้างสารเคมีออกด้วยน้ำเปล่า ห้ามดูดซับในขี้เลื่อยหรือสารดูดซับที่ติดไฟได้อื่นๆ 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 8; หมายเลขของสหประชาชาติระบุกลุ่มของการหีบห่อสาร (UN Pack Group): I 

การเก็บ
แยกจาก food and feedstuffs (โปรดอ่านอันตรายจากสารเคมีเพิ่มเติม) เก็บในที่แห้ง มีการปิดผนึก 
การบรรจุ/การหีบห่อ
ภาชนะบรรจุที่ทนทานไม่แตกหัก
ใส่หีบห่อที่แตกง่ายลงในภาชนะบรรจุที่มีคุณสมบัติทนทานไม่แตกหัก
ไม่ขนส่งร่วมกับอาหารและภาชนะสำหรับบรรจุอาหาร หรือภาชนะบรรจุสำหรับให้อาหาร 
คลอโรซัลโฟนิกแอร์ซิด หรือ กรดคลอโรซัลโฟนิก ICSC: 1039
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นของเหลวไม่มีสีถึงสีเหลือง มีกลิ่นฉุน 

อันตรายทางกายภาพ
 

อันตรายทางเคมี
สารนี้จะสลายตัว เมื่อถูกทำให้ร้อนและสัมผัสกับกับ น้ำ สารนี้จะสร้างไอควัน (ฟูม) ที่มีพิษและมีฤทธิ์กัดกร่อน สารนี้เป็นสารออกซิแดนท์ที่แรง สารนี้มีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับเป็นวัสดุติดไฟและเป็นสารรีดิวซ์ สารนี้เป็นกรดแก่ สารนี้มีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับเบส และกัดกร่อน สารนี้อย่างรุนแรง จะมีปฏิกิริยากับ แอลกอฮอล์ ผงโลหะหรือโลหะผง สารฟอสฟอรัส สารไนเตรต และ สารอื่นอีกหลายชนิด สารนี้จะก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดและเพลิงไหม้ 

ClHO3S / SO2(OH)Clสูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 116.52
จุดเดือดที่ 100กิโลปาสกาล (kPa): 151-152°C
จุดหลอมเหลว : -80°C
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (น้ำ = 1): 1.75
ละลายในน้ำ: ปฏิกิริยา
ความดันไอ ที่อุณหภูมิ 20°C: 133 ปาสกาล (Pa)
ความหนาแน่นของไอน้ำสัมพัทธ์ (อากาศ = 1): 4.02  


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเอาไอระเหยของสารนี้เข้าสู่ร่างกาย และ โดยการรับประทาน 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
สารนี้ จะกัดกร่อน ตา ผิวหนัง ทางเดินหายใจ หากรับประทานจะเกิดการกัดกร่อนทางเดินอาหาร หากหายใจได้รับ ไอระเหย อาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) ผลกระทบต่อสุขภาพอาจปรากฏช้า ควรให้แพทย์ตรวจอาการ 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สารอันตรายนี้จะระเหยปนเปื้อนในอากาศค่อนข้างเร็ว 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
หากหายใจรับสารนี้ในรูปของซ้ำ หรือเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อปอด สารนี้อาจมีผลกระทบต่อ ฟัน สารนี้อาจมีผลต่อerosion 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
 

สิ่งแวดล้อม
 

ข้อสังเกต
แก้ไขความรุนแรงของเพลิงไหม้ด้วยสารดับเพลิง เช่น น้ำ
อาการปอดบวมนั้น มักพบบ่อยว่ายังมีอาการไม่ชัดเจน จนกว่าจะผ่านระยะเวลา 2 - 3 ชั่วโมง และมีการออกกำลังกาย ก็จะพบว่ามีปอดบวมชัดเจน
การพักผ่อนและการมีแพทย์สังเกตอาการเป็นสิ่งจำเป็น
ขึ้นอยู่กับระดับของการได้รับสัมผัส และการแนะนำการตรวจสุขภาพตามระยะที่กำหนด 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
สัญลักษณ์ : C; R: 14-35-37; S: (1/2)-26-45 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล