« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ICSC: 0638 (ตุลาคม 2005)
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 7778-54-3
UN #: 1748
EC Number: 231-908-7

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไม่ได้เป็นสารที่สันดาปได้แต่เป็นสารที่เพิ่มการสันดาปของสารอื่น การเกิดปฏิกิริยาอย่างมากอาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้หรือการระเบิดได้ ปล่อยไอควันหรือแก๊สที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นพิษจากการเกิดเพลิงไหม้  เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และระเบิดเมื่อสัมผัสกับกรด สารไวไฟ ตัวรีดิวซ์  ห้ามสัมผัสกับสารติดไฟ สารรีดิวซ์    ไม่ใช้ ผง ใช้ water in large amounts.  ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของถังบรรจุสารเคมีให้เย็นด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้ถังบรรจุสารเคมีนั้น 

 ป้องกันการแพร่กระจายของฝุ่น  
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ รู้สึกปวดแสบปวดร้อน เจ็บคอ หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก หายใจสั้น  ใช้ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน ควรผายปอด ส่งต่อแพทย์ 
ทางผิวหนัง ผื่นแดง เจ็บปวด ผิวหนังไหม้รุนแรง แผล  ถุงมือป้องกัน เสื้อผ้าป้องกัน  ให้ถอดเสื้อผ้าหรือชุดที่ปนเปื้อนออก ค่อย ๆ รินน้ำเปล่าล้างผิวหนัง หรือใช้ฝักบัวในการชะล้าง 
ทางตา รอยแดง ความเจ็บปวด ตาพร่า แผลไหม้รุนแรง  สวมใส่ กระบังหน้า อุกรณ์ป้องกันดวงตา ในการป้องกันการหายใจแบบผสมผสาน  ขั้นแรกให้ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) จากนั้นให้นำส่งแพทย์ 
ทางปาก ปวดท้อง มึนงง ช็อกหรือแฟบ  ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร  บ้วนปาก ให้ดื่มน้ำหนึ่งหรือสองแก้ว ไม่ทำให้อาเจียน ส่งต่อไปพบแพทย์  

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ชุดป้องกันสารเคมี, หน้ากากป้องกันใบหน้า (face shield) และ ใช้เครื่องช่วยการหายใจ (repirator) ที่ใช้ตัวกรองอากาศ (filter) สำหรับแก๊สอินทรีย์และไอระเหยในการป้องกันความเข้มข้นของสารในอากาศที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ ห้ามปล่อยสารเคมีนี้ออกสู่สิ่งแวดล้อม ให้กวาดสารที่หกรั่วไหลลงในภาชนะบรรจุที่ปิดไม่ให้อากาศผ่าน และแห้ง ดังนั้น วิธีการจัดเก็บและวิธีการกำจัดทิ้งให้ขึ้นอยู่กับกฎที่ใช้ควบคุมในพื้นที่นั้น (local regulation) 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 5.1; หมายเลขของสหประชาชาติระบุกลุ่มของการหีบห่อสาร (UN Pack Group): II 

การเก็บ
มีการปิดผนึก เก็บรักษาในพื้นที่ที่ไม่มีการระบายหรือมีท่อระบายน้ำ แยกจาก food and feedstuffs (โปรดอ่านอันตรายจากสารเคมีเพิ่มเติม) 
การบรรจุ/การหีบห่อ
ไม่ขนส่งร่วมกับอาหารและภาชนะสำหรับบรรจุอาหาร หรือภาชนะบรรจุสำหรับให้อาหาร 
แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ ICSC: 0638
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นของแข็งหลายรูปทรงสีขาว มีกลิ่นเฉพาะ 

อันตรายทางกายภาพ
 

อันตรายทางเคมี
สารนี้จะสลายตัว อย่างรวดเร็วที่ระดับอุณหภูมิสูงกว่า 175 องศาเซลเซียส (°C) สลายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อสัมผัสกับกรด จะเกิดคลอรีนและ ออกซิเจน สารนี้จะก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดและเพลิงไหม้ สารนี้เป็นสารออกซิแดนท์ที่แรง สารนี้มีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับเป็นวัสดุติดไฟและเป็นสารรีดิวซ์ สารละลายในน้ำ เป็น ด่างแก่ปานกลาง สารนี้อย่างรุนแรง จะมีปฏิกิริยากับ สารแอมโมเนีย สารเอมีน สารประกอบไนโตรเจน และ สารอื่นอีกหลายชนิด สารนี้จะก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิด ทำลาย โลหะจำนวนมาก จะเกิดแก๊สไวไฟ/แก๊สระเบิด (ไฮโดรเจน - (โปรดอ่านการ์ด ICSC 0001) ทำลาย พลาสติก 

Ca(ClO)2สูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 143.0
ย่อยสลายหรือแตกตัว ที่ 100°C
ความหนาแน่น: 2.35 g/cm³
ละลายในน้ำ ที่อุณหภูมิ 25°C: 21กรัมต่อ 100 มิลลิตร (g/100ml) 


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน และ โดยการหายใจ 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
สารนี้ จะกัดกร่อน ตา หากรับประทานจะเกิดการกัดกร่อนทางเดินอาหาร หากหายใจได้รับ สารที่ได้จากการสลายตัวของสารนี้ อาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) ผลกระทบต่อสุขภาพอาจปรากฏช้า ควรให้แพทย์ตรวจอาการ 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
เมื่อสารนี้กระจายตัวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอยู่ในรูปฝุ่นผง ความเข้มข้นของอนุภาคของสารนี้ในอากาศจะถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างรวดเร็ว 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
 

สิ่งแวดล้อม
สารนี้มีพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ 

ข้อสังเกต
ค่อยๆรินน้ำเปล่าชะล้างเสื้อผ้าืั้ปนเปื้อนสารนี้เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้ได้
อาการปอดบวมนั้น มักพบบ่อยว่ายังมีอาการไม่ชัดเจน จนกว่าจะผ่านระยะเวลา 2 - 3 ชั่วโมง และมีการออกกำลังกาย ก็จะพบว่ามีปอดบวมชัดเจน
การพักผ่อนและการมีแพทย์สังเกตอาการเป็นสิ่งจำเป็น
ควรพิจารณาการให้การบำบัดการหายใจโดยแพทย์หรือโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการ 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
สัญลักษณ์ : O, C, N; R: 8-22-31-34-50; S: (1/2)-26-36/37/39 -45-61 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล