« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
ฟอสฟอรัส (เหลือง)ICSC: 0628 (เมษายน 2004)
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 12185-10-3
UN #: 1381
EC Number: 231-768-7

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไวไฟสูง โปรดอ่านข้อสังเกต ปล่อยไอควันหรือแก๊สที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นพิษจากการเกิดเพลิงไหม้    ห้ามใกล้เปลวไฟ ห้ามใกล้ประกายไฟ และห้ามสูบบุหรี่ ห้ามสัมผัสกับไวไฟ ห้ามสัมผัสกับอากาศ ห้ามสัมผัสกับพื้นผิวร้อน ห้ามสัมผัสกับสารออกซิไดซ์ ฮาโลเจน ซัลเฟอร์ ด่างแก่    ใช้ water spray, wet sand.  ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของถังบรรจุสารเคมีให้เย็นด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้ถังบรรจุสารเคมีนั้น 

 ป้องกันการปล่อยละอองสารเคมี หลีกเลี่ยงทุกการสัมผัสสารเคมีนี้! ทุกรายที่ได้รับสัมผัสสารนี้ควรปรึกษาแพทย์ 
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ รู้สึกปวดแสบปวดร้อน ไอ หายใจลำบาก หายใจสั้น เจ็บคอ หมดสติ อาการอาจปรากฏช้า โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม  ใช้ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน ควรผายปอด ส่งต่อแพทย์ 
ทางผิวหนัง ผื่นแดง ผิวหนังไหม้ เจ็บปวด แผล  ถุงมือป้องกัน เสื้อผ้าป้องกัน  ขั้นตอนแรกให้ค่อยๆ ชำระล้างด้วยน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที จากนั้นให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกแล้วค่อยๆ ชำระล้างผิวหนังด้วยน้ำอีกครั้ง ส่งต่อ ไปพบแพทย์เพื่อให้การรักษา ให้สวมถุงมือเพื่อป้องกันมือขณะทำการปฐมพยาบาล (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) 
ทางตา รอยแดง ความเจ็บปวด สูญเสียการมองเห็น แผลไหม้รุนแรง  สวมใส่ แว่นครอบตานิรภัย กระบังหน้า อุกรณ์ป้องกันดวงตา ในการป้องกันการหายใจแบบผสมผสาน  ขั้นแรกให้ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) จากนั้นให้นำส่งแพทย์ 
ทางปาก ปวดท้อง มึนงง ช็อกหรือแฟบ สลบ  ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร  บ้วนปาก ทำให้อาเจียน (เฉพาะกรณีที่บุคคลนั้นยังมีสติรู้สึกตัว) พักผ่อน สวมถุงมือป้องกันมือเมื่อทำให้อาเจียน ส่งต่อไปพบแพทย์  

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
อพยพออกจากพื้นที่อันตราย! ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ชุดป้องกันที่ครบสมบูรณ์พร้อมด้วยเครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศในตัว (self-contained breathing apparatus: SCBA) กวาดสารที่หกใส่ภาชนะบรรจุ คลุมปิดสารที่หกรั่วไหลด้วยทรายเปียก ดิน ถ้าจะใช้วิธีที่เหมาะสม ให้ทำให้เปียกหรือชื้นก่อนเป็นลำดับแรกเพื่อป้องกันการเกิดฝุ่น ห้ามล้างสารเคมีลงสู่ท่อระบายน้ำ ดังนั้น วิธีการจัดเก็บและวิธีการกำจัดทิ้งให้ขึ้นอยู่กับกฎที่ใช้ควบคุมในพื้นที่นั้น (local regulation) ห้ามดูดซับในขี้เลื่อยหรือสารดูดซับที่ติดไฟได้อื่นๆ 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 4.2; หมายเลขของสหประชาชาติระบุความเสี่ยงลำดับรอง (UN Subsidiary Risks) : 6.1; หมายเลขของสหประชาชาติระบุกลุ่มของการหีบห่อสาร (UN Pack Group): I 

การเก็บ
มีความคงทนต่อไฟ แยกจาก strong oxidants และ food and feedstuffs เก็บรักษาภายใต้ น้ำ 
การบรรจุ/การหีบห่อ
อัดลม
ภาชนะบรรจุที่ทนทานไม่แตกหัก
ใส่หีบห่อที่แตกง่ายลงในภาชนะบรรจุที่มีคุณสมบัติทนทานไม่แตกหัก
ไม่ขนส่งร่วมกับอาหารและภาชนะสำหรับบรรจุอาหาร หรือภาชนะบรรจุสำหรับให้อาหาร 
ฟอสฟอรัส (เหลือง) ICSC: 0628
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นผลึกแข็งโปร่งใส มีสีขาวถึงสีเหลือง มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง ลักษณะทางกายภาพจะเปลี่ยนเป็น สีดำมืด เมื่อสัมผัสกับ แสงสว่าง 

อันตรายทางกายภาพ
ไม่มีข้อมูล 

อันตรายทางเคมี
สารนี้อาจติดไฟได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศ สารนี้จะสร้างไอควันพิษ (ฟูมพิษ) ของสารฟอสฟอรัสออกไซด์ สารนี้ จะมีปฏิกิริยากับ สารออกซิแดนท์ สารฮาโลเจน และ สารซัลเฟอร์ สารนี้จะก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดและเพลิงไหม้ สารนี้ จะมีปฏิกิริยากับ เบสแก่ จะเกิดแก๊สพิษ (ฟอสฟีน) 

P4สูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 123.88
จุดหลอมเหลว : 44°C
ความหนาแน่น: 1.83 g/cm³
ละลายในน้ำ ที่อุณหภูมิ 20°C: 0.0003กรัมต่อ 100 มิลลิตร (g/100ml)
ความดันไอ ที่อุณหภูมิ 20°C: 3.5 ปาสกาล (Pa)
ความหนาแน่นของไอน้ำสัมพัทธ์ (อากาศ = 1): 4.42
ขุดวาบไฟ : < 20°C
อุณหภุูมิที่ติดไฟได้เอง: 30°C  


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเอาไอระเหยของสารนี้เข้าสู่ร่างกาย และ โดยการรับประทาน 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
สารนี้ จะกัดกร่อน ตา หากรับประทานจะเกิดการกัดกร่อนทางเดินอาหาร หากหายใจได้รับ ไอระเหย อาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) สารนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อไต และ ตับ การได้รับสัมผัสสารนี้ สามารถทำให้เสียชีวิต. ผลกระทบต่อสุขภาพอาจปรากฏช้า ควรให้แพทย์ตรวจอาการ 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สารนี้ระเหยได้เล็กน้อย ความเข้มข้นของอนุภาคจะถึงระดับความเข้มข้นที่เป็นอันตรายอย่างรวดเร็ว 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
สารนี้อาจมีผลกระทบต่อ กระดูก 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
TLV: 0.1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3), กรณีค่าเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน (TWA).
MAK: (inhalable fraction): 0.01 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3); ประเภทของขีดจำกัดสูงสุด (peak limitation category): II(2); กลุ่มเสี่ยงตั้งครรภ์ (pregnancy risk group): C 

สิ่งแวดล้อม
 

ข้อสังเกต
สารนี้อาจลุกไหม้ขึ้นได้เองอีกครั้งภายหลังที่เพลิงดับแล้ว
ขึ้นอยู่กับระดับของการได้รับสัมผัส และการแนะนำการตรวจสุขภาพตามระยะที่กำหนด
อาการปอดบวมจะยังไม่แสดงชัดเจนกว่าเวลาผ่านไปสองชั่วโมงภายหลังการได้รับการบาดเจ็บ ดังนั้นการให้พักผ่อนและมีการสังเกตอาการทางการแพทย์จึงเป็นสิ่งจำเป็น
ควรพิจารณาการให้การบำบัดการหายใจโดยแพทย์หรือโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการ
ไม่นำเสื้อผ้าที่ใช้ทำงานกลับไปบ้าน
ค่อยๆรินน้ำเปล่าชะล้างเสื้อผ้าืั้ปนเปื้อนสารนี้เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้ได้ 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
สัญลักษณ์ : F, T+, C, N; R: 17-26/28-35-50; S: (1/2)-5-26-38-45-61 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล