« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
ไตรฟลูออโรมีเทนICSC: 0577 (กรกฎาคม 1997)
ไตรฟลูออโรมีเทน
คาร์บอนไตรฟลูออไรด์
ฟลูออโรฟอร์ม
อาร์ 23
เมทิลไตรฟลูออไรด์
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 75-46-7
UN #: 1984
EC Number: 200-872-4

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไม่สันดาป ปล่อยไอควันหรือแก๊สที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นพิษจากการเกิดเพลิงไหม้        ในกรณีที่มีเพลิงไหม้โดยรอบ ให้ใช้สารดับเพลิงที่เหมาะสม  ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของภาชนะบรรจุสารเคมีด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้กับภาชนะเก็บสารเคมีนั้น 

   
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ สับสน เซื่องซึม  ใช้ การระบายอากาศ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ควรผายปอด ส่งต่อแพทย์ 
ทางผิวหนัง เมื่อสัมผัสกับของเหลว: แผลน้ำแข็งกัด  ถุงมือป้องกันความเย็น  ในกรณีเป้นแผลน้ำแข็งกัด: ให้ค่อยๆ ล้างด้วยน้ำ โดยไม่ต้องถอดเสื้อผ้าออก ส่งต่อ ไปพบแพทย์เพื่อให้การรักษา  
ทางตา   สวมใส่ แว่นครอบตานิรภัย  ขั้นแรกให้ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) จากนั้นให้นำส่งแพทย์ 
ทางปาก      

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
การระบายอากาศ (Ventilation) ไม่ฉีดน้ำโดยตรงไปยังของเหลว การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : เครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศในตัว (self-contained breathing apparatus: SCBA) 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 2.2 

การเก็บ
อยู่ในที่เย็น มีการระบายอากาศตลอดทางเดิน 
การบรรจุ/การหีบห่อ
กรวยที่มีการบุเป็นพิเศษ 
ไตรฟลูออโรมีเทน ICSC: 0577
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นแก๊สไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ภายใต้ความดัน เหลว 

อันตรายทางกายภาพ
แก๊สหนักกว่าอากาศและอาจสะสมในพื้นที่ด้านล่างซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน 

อันตรายทางเคมี
สลายตัวเมื่อสัมผัสกับพื้นผิวร้อน หรือ เปลวไฟ จะเกิดไอควัน (ฟูม) ที่มีพิษมากและมีฤทธิ์กัดกร่อน (ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ - โปรดอ่าน ICSC 0283) 

CHF3สูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 70.0
จุดเดือด : -84.4 องศาเซลเซียส
จุดหลอมเหลว : -155°C
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (น้ำ = 1): 1.44
ละลายในน้ำ: ไม่ระบุ
ความดันไอ ที่อุณหภูมิ 20°C: 4000 กิโลปาสกาล (kPa)
ความหนาแน่นของไอน้ำสัมพัทธ์ (อากาศ = 1): 2.4
ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวของสารในชั้นน้ำและชั้นออกทานอล (log Pow): 0.64  


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
หากหายใจรับไอระเหยของสารนี้เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้กดระบบประสาทส่วนกลาง. ของเหลวอาจก่อให้เกิดแผลจากความเย็นจัด การได้รับสัมผัสสารนี้ สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและ มีอาการขาดอากาศหายใจ. (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ในกรณีที่ไม่มีภาชนะปิดที่ใช้บรรจุ สารนี้จะมีผลทำให้หายใจไม่ออกเนื่องจากทำให้ออกซิเจนต่ำในอากาศบริเวณพื้นที่อับอากาศ 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
 

สิ่งแวดล้อม
 

ข้อสังเกต
มีข้อห้ามใช้สารกระตุ้นประสาทแอดรีเนอร์จิก (adrenergic agents) ทางการแพทย์
สารนี้หากมีความเข้มข้นสูงในอากาศจะก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการหมดสติหรือเสียชีวิต
ตวจสอบปริมาณของออกซิเจนก่อนเข้าไปยังบริเวณดังกล่าว
ห้ามใช้ในบริเวณใกล้เคียงไฟหรือพื้นผิวที่ร้อน หรือระหว่างการเชื่อม
ให้หมุนกระบอกสูบหรือถังเก็บทรงกระบอกด้านที่รั่วไหลขึ้นเพื่อป้องกันการรั่วของแก๊สในสถานะของเหลว 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล