« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
โพรไพโอนิก แอนไฮไดรด์ICSC: 0558 (เมษายน 2024)
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 123-62-6
UN #: 2496
EC Number: 204-638-2

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด การเผาไหม้  มากกว่า 63 องศาเซลเซียส (°C) จะทำให้เกิดการระเบิดจากไอระเหยหรือจากการผสมของอากาศ  ห้ามใกล้เปลวไฟ  เมื่ออุณหภูมิมากกว่า 63 องศาเซลเซียส (°C) ให้ใช้ระบบปิดและมีการระบายอากาศ  ใช้ water spray, powder, alcohol-resistant foam, carbon dioxide.   

 หลีกเลี่ยงทุกการสัมผัสสารเคมีนี้! ป้องกันการปล่อยละอองสารเคมี  
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ ไอ เจ็บคอ รู้สึกปวดแสบปวดร้อน หายใจสั้น อาการอาจปรากฏช้า โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม  ใช้ การระบายอากาศ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน ควรผายปอด ส่งต่อแพทย์ทันที 
ทางผิวหนัง ผื่นแดง เจ็บปวด ผิวหนังไหม้  ถุงมือป้องกัน เสื้อผ้าป้องกัน  ให้ถอดเสื้อผ้าหรือชุดที่ปนเปื้อนออก ค่อย ๆ รินน้ำเปล่าล้างผิวหนัง หรือใช้ฝักบัวในการชะล้าง ส่งต่อ ทันที ไปพบแพทย์เพื่อให้การรักษา  
ทางตา รอยแดง ความเจ็บปวด แผลไหม้รุนแรง  สวมใส่ กระบังหน้า อุกรณ์ป้องกันดวงตา ในการป้องกันการหายใจแบบผสมผสาน  ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) นำส่งแพทย์ทันที ค่อย ๆ ล้างระหว่างการพาไปพบแพทย์ 
ทางปาก รู้สึกแสบร้อนในปากและลำคอ ปวดท้อง ช็อกหรือแฟบ  ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน  บ้วนปาก ไม่ทำให้อาเจียน ไม่ให้ดื่มน้ำหรือของเครื่องดื่มใดๆ ส่งต่อไปพบแพทย์ทันที 

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ชุดป้องกันสารเคมีซึ่งมีเครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศในตัว (self-contained breathing apparatus: SCBA), หน้ากากป้องกันใบหน้า (face shield) และ ใช้ถุงมือนิรภัย (protective gloves) ให้เก็บชองเหลวที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดผนึก ดูดซับของเหลวที่ยังเหลือคงค้างอยู่ด้วยทรายแห้งหรือสารดูดซับเฉื่อย ดังนั้น วิธีการจัดเก็บและวิธีการกำจัดทิ้งให้ขึ้นอยู่กับกฎที่ใช้ควบคุมในพื้นที่นั้น (local regulation) 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

corrcancer;health haz
อันตราย
ก่อให้เกิดผิวหนังไหม้รุนแรงและทำลายตา
อาจเป็นสาเหตุทำลาย ปอด ถ้า หายใจเข้า
อาจเป็นสาเหตุทำลายทางเดินหายใจส่วนบน และ ปอดตลอดการได้รับสัมผัสสารหรือได้รับสัมผัสสารซ้ำ หายใจเข้าอาจเป็นสาเหตุทำลายทางเดินหายใจส่วนบน และ ปอดตลอดการได้รับสัมผัสสารหรือได้รับสัมผัสสารซ้ำ [" ถ้า "P2 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 8; หมายเลขของสหประชาชาติระบุกลุ่มของการหีบห่อสาร (UN Pack Group): III 

การเก็บ
เก็บในที่แห้ง มีการระบายอากาศตลอดทางเดิน แยกจาก bases, oxidants และ food and feedstuffs เก็บรักษาไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิม 
การบรรจุ/การหีบห่อ
ไม่ขนส่งร่วมกับอาหารและภาชนะสำหรับบรรจุอาหาร หรือภาชนะบรรจุสำหรับให้อาหาร 
โพรไพโอนิก แอนไฮไดรด์ ICSC: 0558
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นของเหลวไม่มีสี มีกลิ่นฉุน 

อันตรายทางกายภาพ
ไอระเหยหนักกว่าอากาศ 

อันตรายทางเคมี
สลายตัวเมื่อสัมผัสกับน้ำ จะเกิดกรดโพรพิโอนิกซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อน สารนี้อย่างรุนแรง จะมีปฏิกิริยากับ เบส และ สารออกซิแดนท์ สารนี้จะก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดและเพลิงไหม้ 

C6H10O3 / (CH3CH2CO)2Oสูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 130.2
จุดเดือด : 167 องศาเซลเซียส
จุดหลอมเหลว : -45°C
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (น้ำ = 1): 1.01
ละลายในน้ำ: ปฏิกิริยา
ความดันไอ ที่อุณหภูมิ 20°C: 0.1 กิโลปาสกาล (kPa)
ความหนาแน่นของไอน้ำสัมพัทธ์ (อากาศ = 1): 4.5
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของส่วนผสมระหว่าง ไอระเหย/อากาศ (vapour/air-mixture) ที่อุณหภูมิ 20°C (อากาศ = 1): 4.4
จุดวาบไฟ : อุณหภูมิ 63°C c.c.
อุณหภุูมิที่ติดไฟได้เอง: 285°C
ขีดจำกัดการระเบิด : 1.3-9.5vol% ในอากาศ 


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ และ โดยการรับประทาน 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
สารนี้ จะกัดกร่อน ตา หากรับประทานจะเกิดการกัดกร่อนทางเดินอาหาร หากหายใจรับสารนี้ที่มีความเข้มข้นสูงมากอาจก่อให้เกิดปอดบวม แต่ในระยะแรกของฤทธิ์กัดกร่อนของสารนี้จะเห็นผลชัดเจนที่มีต่อตาและระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเท่านั้นผลของการกัดกร่อนของสารนี้ (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ไม่มีข้อบ่งชี้อัตราความเข้มข้นที่เป็นอันตรายของสารนี้ในอากาศ เมื่อมีการระเหยที่อุณหภูมิ 20°C  

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
การได้รับไอระเหยของสารนี้ซ้ำ ๆ ทางการหายใจหรือการหายใจรับสารนี้มายาวนานอาจทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนอักเสบเรื้อรัง สารนี้อาจมีผลกระทบต่อ ปอด สารนี้อาจมีผลต่อbronchitis 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
 

สิ่งแวดล้อม
 

ข้อสังเกต
อาการปอดบวมจะยังไม่แสดงชัดเจนกว่าเวลาผ่านไปสองชั่วโมงภายหลังการได้รับการบาดเจ็บ ดังนั้นการให้พักผ่อนและมีการสังเกตอาการทางการแพทย์จึงเป็นสิ่งจำเป็น
ควรพิจารณาการให้การบำบัดการหายใจโดยแพทย์หรือโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการ 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล