« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
คลอโรเมทิล เมทิล อีเทอร์ICSC: 0238 (พฤศจิกายน 2009)
คลอโรเมทิล เมทิล อีเทอร์
ไดเมทิลคลอโรอีเทอร์
คลอโรเมทอกซีมีเทน
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 107-30-2
UN #: 1239
EC Number: 203-480-1

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไวไฟสูง ปล่อยไอควันหรือแก๊สที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นพิษจากการเกิดเพลิงไหม้ ความร้อนจะเพิ่มความดันที่เสี่ยงต่อการระเบิด  ไอระเหย/ส่วนผสมของอากาศทำให้ระเบิด  ห้ามใกล้เปลวไฟ ห้ามใกล้ประกายไฟ และห้ามสูบบุหรี่  ระบบปิด ระบายอากาศ อุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันระเบิดและไฟฉายป้องกันการระเบิด ป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้าสถิต (เช่น มีสายดิน เป็นต้น)  ใช้ ผงเคมี. อาจไม่สามารถใช้น้ำดับเพลิงได้  ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของถังบรรจุสารเคมีให้เย็นด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้ถังบรรจุสารเคมีนั้น 

 หลีกเลี่ยงทุกการสัมผัสสารเคมีนี้! ทุกรายที่ได้รับสัมผัสสารนี้ควรปรึกษาแพทย์ 
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ รู้สึกปวดแสบปวดร้อน ไอ เจ็บคอ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หายใจสั้น หายใจลำบาก  ใช้ ระบบปิด และ ระบายอากาศ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน ควรผายปอด ส่งต่อแพทย์ทันที 
ทางผิวหนัง ผื่นแดง เจ็บปวด ผิวหนังไหม้ แผล  ถุงมือป้องกัน เสื้อผ้าป้องกัน  ให้ถอดเสื้อผ้าหรือชุดที่ปนเปื้อนออก ค่อย ๆ รินน้ำเปล่าล้างผิวหนัง หรือใช้ฝักบัวในการชะล้าง ส่งต่อ ไปพบแพทย์เพื่อให้การรักษา  
ทางตา รอยแดง ความเจ็บปวด ตาพร่า สูญเสียการมองเห็น แผลไหม้รุนแรง  สวมใส่ กระบังหน้า อุกรณ์ป้องกันดวงตา ในการป้องกันการหายใจแบบผสมผสาน  ค่อย ๆ รินน้ำสะอาดล้างตา (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออกก่อน ถ้าสามารถเอาคอนแทคเลนส์ออกได้) นำส่งแพทย์ทันที 
ทางปาก รู้สึกแสบร้อนในปากและลำคอ เป็นตะคริวที่ท้อง ท้องเกร็ง อาเจียน ท้องร่วง ช็อกหรือแฟบ  ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร  บ้วนปาก ไม่ทำให้อาเจียน ส่งต่อไปพบแพทย์ทันที 

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
เขจัดแหล่งกำเนิดประกายไฟทั้งหมด อพยพออกจากพื้นที่อันตราย! ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ชุดป้องกันที่ครบสมบูรณ์พร้อมด้วยเครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศในตัว (self-contained breathing apparatus: SCBA) การระบายอากาศ (Ventilation) ให้เก็บชองเหลวที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดผนึก ดูดซับของเหลวที่ยังเหลือคงค้างอยู่ด้วยทรายหรือสารดูดซับเฉื่อย ดังนั้น วิธีการจัดเก็บและวิธีการกำจัดทิ้งให้ขึ้นอยู่กับกฎที่ใช้ควบคุมในพื้นที่นั้น (local regulation) ห้ามล้างสารเคมีลงสู่ท่อระบายน้ำ 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

flam;flamecorrcancer;health haz
อันตราย
ของเหลวไวไฟสูงและไอระเหย
ก่อให้เกิดผิวหนังไหม้รุนแรงและทำลายตา
อาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 6.1; หมายเลขของสหประชาชาติระบุความเสี่ยงลำดับรอง (UN Subsidiary Risks) : 3; หมายเลขของสหประชาชาติระบุกลุ่มของการหีบห่อสาร (UN Pack Group): I 

การเก็บ
มีความคงทนต่อไฟ จัดการการบำบัดน้ำเสียจากการดับเพลิง มีการปิดผนึก แยกจาก food and feedstuffs เก็บรักษาในพื้นที่ที่ไม่มีการระบายหรือมีท่อระบายน้ำ 
การบรรจุ/การหีบห่อ
ภาชนะบรรจุที่ทนทานไม่แตกหัก
ใส่หีบห่อที่แตกง่ายลงในภาชนะบรรจุที่มีคุณสมบัติทนทานไม่แตกหัก
ไม่ขนส่งร่วมกับอาหารและภาชนะสำหรับบรรจุอาหาร หรือภาชนะบรรจุสำหรับให้อาหาร 
คลอโรเมทิล เมทิล อีเทอร์ ICSC: 0238
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นของเหลว ไม่มีสี มีกลิ่นเฉพาะ 

อันตรายทางกายภาพ
ไอระเหยหนักกว่าอากาศและอาจเคลื่อนตัวเหนือพื้น ซึ่งอาจเกิดการลุกไหม้ระหว่างทางได้ เนื่องจากผลของการไหล การเขย่า และอื่นๆ จะก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ 

อันตรายทางเคมี
เมื่อมีการสันดาป รูปแบบของสารเป็น แก๊สพิษร่วมด้วย สารฟอสจีน (โปรดอ่านการ์ด ICSC 0007) และ สารไฮโดรเจนคลอไรด์ (โปรดอ่านการ์ด ICSC 0163) สลายตัวเมื่อสัมผัสกับน้ำ จะเกิดไฮโดรเจนคลอไรด์และ สารฟอร์มัลดีไฮด์ (โปรดอ่านการ์ด ICSC 0275) มีปฏิกริยาโดยเร็วกับ โลหะหลายชนิด , | และ ] ในที่ที่มี น้ำ. 

CH3OCH2CI/C2H5ClOสูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 80.5
จุดเดือด : 59 องศาเซลเซียส
จุดหลอมเหลว : -104°C
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (น้ำ = 1): 1.06
ละลายในน้ำ: สลายตัว
ความดันไอ ที่อุณหภูมิ 20°C: 21.6 กิโลปาสกาล (kPa)
ความหนาแน่นของไอน้ำสัมพัทธ์ (อากาศ = 1): 2.8
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของส่วนผสมระหว่าง ไอระเหย/อากาศ (vapour/air-mixture) ที่อุณหภูมิ 20°C (อากาศ = 1): 1.4
จุดวาบไฟ : อุณหภูมิ -8°C c.c.
อุณหภุูมิที่ติดไฟได้เอง : โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม
ขีดจำกัดการระเบิด : vol% ในอากาศ (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) 


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
ร้ายแรงผลกระทบเฉพาะที่ โดยการเข้าสู่ร่างกายจากการได้รับสัมผัสทุกช่องทาง 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
สารนี้ จะกัดกร่อน ตา การได้รับสารนี้ทางการหายใจ อาจทำให้ ปอดบวมน้ำ แต่มักเกิดขึ้นภายหลัง ในระยะแรกที่ได้รับสัมผัสสารนี้ จะมีผลกระทบโดยกัดกร่อนตาและ/หรือทางเดินหายใจ . ควรให้แพทย์ตรวจอาการ 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สารอันตรายนี้จะระเหยปนเปื้อนในอากาศค่อนข้างเร็ว 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
สารนี้เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ หากหายใจรับสารนี้ในรูปของซ้ำ หรือเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อปอด 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
TLV: A2 (suspected human carcinogen).
MAK: การจำแนกกลุ่มมะเร็ง (carcinogen categor): 1 

สิ่งแวดล้อม
 

ข้อสังเกต
ยังไม่มีการศึกษาที่ระบุแน่ชัดว่าสารนี่้มีอุณหภูมิจุดติดไฟเท่าใด
ไม่มีข้อมูลระบุถึงจุดระเบิดของสารนี้
ห้ามใช้ในบริเวณใกล้เคียงไฟหรือพื้นผิวที่ร้อน หรือระหว่างการเชื่อม
ตรวจสอบสารเปอร์ออกไซด์ก่อนการกลั่น; ถ้าพบสารเปอร์ออกไซด์ให้กำจัด
ข้อสำคัญสำหรับ TLV (ขีดจำกัดการได้รับสัมผัส): ต้องคำนึงถึงการควบคุมการได้รับสัมผัสทุกช่องทางอย่างระมัดระวัง เพื่อให้มีการได้รับสัมผัสสารนี้ในระดับที่น้อยมากเท่าที่จะทำได้ 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
สัญลักษณ์ : F, T; R: 45-11-20/21/22; S: 53-45; โปรดดูข้อสังเกต: E 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล