« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
ไอโซโพรพิล ไกลซิดิล อีเทอร์ICSC: 0171 (พฤศจิกายน 1998)
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 4016-14-2
UN #: 1993
EC Number: 223-672-9

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไวไฟ  มากกว่า 33 องศาเซลเซียส (°C) จะทำให้เกิดการระเบิดจากไอระเหยหรือจากการผสมของอากาศ  ห้ามใกล้เปลวไฟ ห้ามใกล้ประกายไฟ และห้ามสูบบุหรี่  เมื่ออุณหภูมิมากกว่า 33 องศาเซลเซียส (°C) ให้ใช้ระบบปิดและมีการระบายอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันการระเบิด  ใช้ powder, AFFF, foam, carbon dioxide.  ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของถังบรรจุสารเคมีให้เย็นด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้ถังบรรจุสารเคมีนั้น 

 ป้องกันการปล่อยละอองสารเคมี  
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ รู้สึกปวดแสบปวดร้อน ไอ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หายใจลำบาก หายใจสั้น เจ็บคอ อาการอาจปรากฏช้า โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม  ใช้ การระบายอากาศ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน ส่งต่อแพทย์ 
ทางผิวหนัง ผื่นแดง เจ็บปวด  ถุงมือป้องกัน  ให้ถอดเสื้อผ้าหรือชุดที่ปนเปื้อนออก ค่อย ๆ ชำระล้างผิวหนังด้วยน้ำและสบู่ 
ทางตา รอยแดง ความเจ็บปวด  สวมใส่ แว่นตานิรภัย อุกรณ์ป้องกันดวงตา ในการป้องกันการหายใจแบบผสมผสาน  ขั้นแรกให้ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) จากนั้นให้นำส่งแพทย์ 
ทางปาก   ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน  บ้วนปาก ให้ดื่มน้ำหนึ่งหรือสองแก้ว 

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ใช้เครื่องช่วยการหายใจ (repirator) ที่ใช้ตัวกรองอากาศ (filter) สำหรับแก๊สอินทรีย์และไอระเหยในการป้องกันความเข้มข้นของสารในอากาศที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ ให้เก็บชองเหลวที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดผนึก ให้ตระหนักถึงการเก็บสารในภาชนะบรรจุอย่างระมัดระวัง ดังนั้น วิธีการจัดเก็บและวิธีการกำจัดทิ้งให้ขึ้นอยู่กับกฎที่ใช้ควบคุมในพื้นที่นั้น (local regulation) 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 3; หมายเลขของสหประชาชาติระบุกลุ่มของการหีบห่อสาร (UN Pack Group): III 

การเก็บ
มีความคงทนต่อไฟ แยกจาก strong oxidants และ acids อยู่ในที่เย็น เก็บในที่แห้ง เก็บรักษาในที่มืด มีการปิดผนึก 
การบรรจุ/การหีบห่อ
 
ไอโซโพรพิล ไกลซิดิล อีเทอร์ ICSC: 0171
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นของเหลวไม่มีสี  

อันตรายทางกายภาพ
ไม่มีข้อมูล 

อันตรายทางเคมี
สารนี้สามารถอยู่ใรูปของเพอร์ออกไซด์ซึ่งเป็นสารที่ระเบิดได้ หากสัมผัสกับอากาศหรือแสงสว่าง สารนี้อย่างรุนแรง จะมีปฏิกิริยากับ สารออกซิแดนท์อย่างแรง สารเอมีน และ กรด 

C6H12O2สูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 116.2
จุดเดือด : 137 องศาเซลเซียส
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (น้ำ = 1): 0.92
ละลายในน้ำ : 19กรัมต่อ 100 มิลลิตร (g/100ml)
ความดันไอ ที่อุณหภูมิ 25°C: 1.25 กิโลปาสกาล (kPa)
ความหนาแน่นของไอน้ำสัมพัทธ์ (อากาศ = 1): 4.15
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของส่วนผสมระหว่าง ไอระเหย/อากาศ (vapour/air-mixture) ที่อุณหภูมิ 20°C (อากาศ = 1): 1.04
จุดวาบไฟ : อุณหภูมิ 33°C c.c.
ขีดจำกัดการระเบิด : vol% ในอากาศ (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม)
ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวของสารในชั้นน้ำและชั้นออกทานอล (log Pow): 0.5  


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเอาไอระเหยของสารนี้เข้าสู่ร่างกาย 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
สารนี้ ทำให้ระคายเคือง ต่อ ตา, ผิวหนัง และ ทางเดินหายใจ หากหายใจได้รับ ไอระเหย อาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) สารนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง การได้รับสัมผัสสารนี้มากกว่าค่า OEL สามารถทำให้การรู้สึกตัวลดน้อยลง. 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สารอันตรายนี้จะระเหยปนเปื้อนในอากาศค่อนข้างเร็ว 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
TLV: 50 ส่วนในล้านส่วน (ppm) กรณีค่าเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน (TWA); 75 ส่วนในล้านส่วน (ppm) กรณ๊ขีดจำกัดระยะสั้น (STEL).
MAK: การจำแนกกลุ่มมะเร็ง (carcinogen categor): 3B 

สิ่งแวดล้อม
 

ข้อสังเกต
ไม่มีข้อมูลขีดจำกัดการระเบิด เพียงแต่ระบุว่าเป็นสารติดไฟและมีจุดวาบไฟ < 61°C
อาการปอดบวมนั้น มักพบบ่อยว่ายังมีอาการไม่ชัดเจน จนกว่าจะผ่านระยะเวลา 2 - 3 ชั่วโมง และมีการออกกำลังกาย ก็จะพบว่ามีปอดบวมชัดเจน
การพักผ่อนและการมีแพทย์สังเกตอาการเป็นสิ่งจำเป็น
ควรพิจารณาการให้การบำบัดการหายใจโดยแพทย์หรือโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการ
ตรวจสอบสารเปอร์ออกไซด์ก่อนการกลั่น; ถ้าพบสารเปอร์ออกไซด์ให้กำจัด 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล