« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
ไอโดรเจนซัลไฟด์ICSC: 0165 (เมษายน 2017)
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 7783-06-4
UN #: 1053
EC Number: 231-977-3

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไวไฟสูงสุด  แก๊ส/อากาศผสม เป็นสารที่ทำให้ระเบิดได้  ห้ามใกล้เปลวไฟ ห้ามใกล้ประกายไฟ และห้ามสูบบุหรี่  ระบบปิด ระบายอากาศ อุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันระเบิดและไฟฉายป้องกันการระเบิด ป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้าสถิต (เช่น มีสายดิน เป็นต้น) ถ้าอยู่ในสภาวะของเหลว ห้ามใช้อากาศอัดในการบรรจุสาร การถ่ายเท หรือ การขนย้าย  ถ้าไม่สามารถถ้าไม่สามารถดับไฟได้และพิจารณาแล้วว่าเผาไหม้นั้นไม่มีภาวะเสี่ยงใด ๆ ต่อสถานการณ์โดยรอบ ให้หยุดการส่งกำลังไประงับเหตุ และให้ปล่อยให้เพลิงไหม้จนดับไปเอง ส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้ดับเพลิงด้วย ฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (สเปรย์น้ำ), ผงแห้ง  ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของภาชนะบรรจุสารเคมีด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้กับภาชนะเก็บสารเคมีนั้น 

 หลีกเลี่ยงทุกการสัมผัสสารเคมีนี้! ทุกรายที่ได้รับสัมผัสสารนี้ควรปรึกษาแพทย์ 
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ ไอ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจลำบาก หายใจสั้น หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ อาการชัก หมดสติ  ใช้ การระบายอากาศ การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  ควรให้ออกซิเจน อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน ควรผายปอด ไม่ผายปอดด้วยวิธีปากต่อปาก (mouth-to-mouth) ส่งต่อแพทย์ทันที 
ทางผิวหนัง เมื่อสัมผัสกับของเหลว: แผลน้ำแข็งกัด  ถุงมือป้องกันความเย็น  ในกรณีเป้นแผลน้ำแข็งกัด: ให้ค่อยๆ ล้างด้วยน้ำ โดยไม่ต้องถอดเสื้อผ้าออก ส่งต่อ ไปพบแพทย์เพื่อให้การรักษา  
ทางตา รอยแดง ความเจ็บปวด  สวมใส่ แว่นครอบตานิรภัย อุกรณ์ป้องกันดวงตา ในการป้องกันการหายใจแบบผสมผสาน  ขั้นแรกให้ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้) จากนั้นให้นำส่งแพทย์ 
ทางปาก   ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน   

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
เขจัดแหล่งกำเนิดประกายไฟทั้งหมด อพยพออกจากพื้นที่อันตราย! ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ใช้ชุดป้องกันสารเคมีแบบป้องกันแก๊ส (gas-tight chemical protection suit) พร้อมทั้งมีเครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศในตัว (self-contained breathing apparatus: SCBA) ห้ามปล่อยสารเคมีนี้ออกสู่สิ่งแวดล้อม ให้ปิดกระบอกสูบถ้าอยู่ในภาวะที่ทำได้ การระบายอากาศ (Ventilation) ขจัดแก๊สด้วยการฉีดพ่นน้ำเป็นละอองฝอย (สเปรย์) ให้กั้นแยกพื้นที่จนกว่าแก๊สจะกระจายตัวหายไป 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

flam;flamecylinder;gasskull;toxicenviro;aqua
อันตราย
แก๊สไวไฟสูงมาก
มีแก๊สภายใต้ความดันอาจระเบิดได้หากถูกทำให้ร้อน
อาจเสียชีวิตได้หากหายใจสารนี้เข้าสู่ร่างกาย
ก่อให้เกิดการระคายเคืองตารุนแรง
อาจระคายเคืองทางเดินหายใจ
เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 2.3; หมายเลขของสหประชาชาติระบุความเสี่ยงลำดับรอง (UN Subsidiary Risks) : 2.1 

การเก็บ
มีความคงทนต่อไฟ แยกจาก strong oxidants อยู่ในที่เย็น เก็บรักษาในห้องที่มีการถ่ายเทอากาศดี ติดตั้งสัญญาณเตือนภัยในระบบควบคุมอย่างต่อเนื่อง จัดการการบำบัดน้ำเสียจากการดับเพลิง เก็บรักษาในพื้นที่ที่ไม่มีการระบายหรือมีท่อระบายน้ำ 
การบรรจุ/การหีบห่อ
 
ไอโดรเจนซัลไฟด์ ICSC: 0165
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นแก๊สไม่มีสีภายใต้ความดัน มีกลิ่นเฉพาะคล้ายไข่เน่า 

อันตรายทางกายภาพ
แก๊สหนักกว่าอากาศและอาจเคลื่อนตัวบนพื้นซึ่งอาจเกิดการลุกไหม้ระหว่างการเคลื่อนตัวดังกล่าวได้ เนื่องจากผลของการไหล การเขย่า และอื่นๆ จะก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ 

อันตรายทางเคมี
ความร้อนอาจก่อให้เกิดการเผาไหม้รุนแรงหรือระเบิดได้ สารนี้จะย่อยสลาย หากได้รับความร้อนหรือเผาไหม้สารนี้ สารนี้จะสร้างแก๊สพิษ ของ สารซัลเฟอร์ออกไซด์ สารนี้ จะมีปฏิกิริยากับ สารออกซิแดนท์อย่างแรง สารนี้จะก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดและเพลิงไหม้ ทำลาย โลหะจำนวนมาก และ พลาสติกบางส่วน 

H2Sสูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 34.1
จุดเดือด : -60 องศาเซลเซียส
จุดหลอมเหลว : -85°C
ละลายในน้ำ ที่อุณหภูมิ 20°C: 0.5กรัมต่อ 100 มิลลิตร (g/100ml)
ความหนาแน่นของไอน้ำสัมพัทธ์ (อากาศ = 1): 1.19
จุดวาบไฟ : แก๊สไวไฟ
อุณหภุูมิที่ติดไฟได้เอง: 270°C
ขีดจำกัดการระเบิด : 3.9-45.5vol% ในอากาศ
ความดันไอ ที่อุณหภูมิ 20°C: 1880 กิโลปาสกาล (kPa)
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (น้ำ = 1): 0.92  


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
ของเหลวนี้ระเหยได้เร็วอาจทำให้ผิวหนังถูกทำลายจากควมเย็นจัด สารนี้ ทำให้ระคายเคือง ต่อ ตา และ ทางเดินหายใจ หากหายใจได้รับ แก๊สนี้ อาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ ผลกระทบต่อสุขภาพอาจปรากฏช้า ควรให้แพทย์ตรวจอาการ (โปรดอ่านข้อสังเกตเพิ่มเติม) สารนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง การได้รับสัมผัสสารนี้ สามารถทำให้หมดสติ. การได้รับสัมผัสสารนี้ สามารถทำให้เสียชีวิต. 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
หากไม่มีการจัดเก็บหรือสูญเสียการจัดเก็บจะมีผลทำให้ความเข้มข้นแก๊สนี้ในอากาศอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายอย่างรวดเร็วมาก 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
TLV: 1 ส่วนในล้านส่วน (ppm) กรณีค่าเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน (TWA); 5 ส่วนในล้านส่วน (ppm) กรณ๊ขีดจำกัดระยะสั้น (STEL).
MAK: 7.1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3), 5 ส่วนต่อล้านส่วน (ppm); ประเภทของขีดจำกัดสูงสุด (peak limitation category): I(2); กลุ่มเสี่ยงตั้งครรภ์ (pregnancy risk group): C.
EU-OEL: 7 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3) , 5 ส่วนในล้านส่วน (ppm) กรณีค่าเฉลี่ยตลอดการทำงาน (TWA); 14 ,มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3), 10 ส่วนในล้านส่วน (ppm) as STEL 

สิ่งแวดล้อม
สารนี้มีพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ 

ข้อสังเกต
อาการปอดบวมนั้น มักพบบ่อยว่ายังมีอาการไม่ชัดเจน จนกว่าจะผ่านระยะเวลา 2 - 3 ชั่วโมง และมีการออกกำลังกาย ก็จะพบว่ามีปอดบวมชัดเจน
การพักผ่อนและการมีแพทย์สังเกตอาการเป็นสิ่งจำเป็น
มีความจำเป็นต้องทำการรักษาเฉพาะในกรณีของพิษของสารนี้; มีการจัดเตรียมคำแนะนำที่เหมาะสมพร้อมใช้งาน
ในการพืจารณาถึงความเสี่ยงจากพิษของสารไฮโดรเจนซัลไฟด์นั้น เนื่องจากอาจไม่รู้สึกว่ามีกลิ่นของสารนี้ที่จะเตือนภัยถึงแม้ว่าความเข้มข้นของสารจะเกินค่าขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการทำงาน (OEL) ก็ตาม (อันเนื่องจากเส้นประสาทการได้รับกลิ่นเป็นอัมพาต) ดังนั้นการใช้กลิ่นเตือนภัยว่าได้รับสัมผัสสารไฮโดรเจนซัลไฟด์จึงไม่ใช่วิธีการเตือนภัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
สัญลักษณ์ : F+, T+, N; R: 12-26-50; S: (1/2)-9-16-36-38-45-61 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล