« กลับไปสู่รายการผลของการสืบค้น  
1,4-ไดออกเซนICSC: 0041 (พฤศจิกายน 2008)
1,4-ไดออกเซน
1,4-ไดเอทิลีนไดออกไซด์
ไดออกเซน
พารา-ไดออกเซน
เลขประจำตัวสารเคมี (CAS #): 123-91-1
UN #: 1165
EC Number: 204-661-8

  อันตรายเฉียบพลัน การป้องกัน การระงับอัคคีภัย
เพลิงไหม้และรายละเอียด; การระเบิด ไวไฟสูง ปล่อยไอควันหรือแก๊สที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นพิษจากการเกิดเพลิงไหม้  ไอระเหย/ส่วนผสมของอากาศทำให้ระเบิด เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และระเบิดเมื่อสัมผัสกับสารที่เข้ากันไม่ได้ โปรดอ่านอันตรายของสารเคมี  ห้ามใกล้เปลวไฟ ห้ามใกล้ประกายไฟ และห้ามสูบบุหรี่ ห้ามสัมผัสกับสารออกซิไดซ์อย่างแรง ห้ามสัมผัสกับพื้นผิวร้อน  ระบบปิด ระบายอากาศ อุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันระเบิดและไฟฉายป้องกันการระเบิด ป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้าสถิต (เช่น มีสายดิน เป็นต้น) ห้ามใช้อากาศอัดในการบรรจุสาร การถ่ายเท หรือ การขนย้าย ใช้เครื่องมือชนิดที่ไม่เกิดประกายไฟ  ใช้ powder, alcohol-resistant foam, water spray, carbon dioxide.  ในกรณีของเพลิงไหม้ ให้รักษาอุณหภูมิของถังบรรจุสารเคมีให้เย็นด้วยการฉีดน้ำเป็นละอองฝอย (spraying) ให้ถังบรรจุสารเคมีนั้น 

 ป้องกันการปล่อยละอองสารเคมี  
  อาการแสดง การป้องกัน การปฐมพยาบาล
ทางการหายใจ ไอ เจ็บคอ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เซื่องซึม อาเจียน หมดสติ ปวดท้อง  ใช้ การระบายอากาศ (ไม่ใช้ในกรณีเป็นฝุ่นผง) การระบายอากาศเฉพาะที่ อุปกรณ์คุ้มครองทางเดินหายใจ  อากาศบริสุทธิ์ พักผ่อน ส่งต่อแพทย์ทันที 
ทางผิวหนัง อาจถูกดูดซึม  ถุงมือป้องกัน เสื้อผ้าป้องกัน  ให้ถอดเสื้อผ้าหรือชุดที่ปนเปื้อนออก ค่อย ๆ รินน้ำเปล่าล้างผิวหนัง หรือใช้ฝักบัวในการชะล้าง 
ทางตา รอยแดง ความเจ็บปวด  สวมใส่ กระบังหน้า อุกรณ์ป้องกันดวงตา ในการป้องกันการหายใจแบบผสมผสาน  ค่อย ๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด 2- 3 นาที (ให้เอาคอนแทคเลนส์ออก ถ้าสามารถเอาออกได้)  
ทางปาก โปรดอ่านข้อมูลกรณีการหายใจเพิ่มเติม  ห้ามรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสูบบุหรี่ระหว่างปฏิบัติงาน  บ้วนปาก ไม่ทำให้อาเจียน ไปพบแพทย์หากรู้สึกไม่สบาย 

การกำจัดทิ้ง การจำแนกประเภทและรายละเอียด: ตราสัญลักษณ์
การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล : ใช้เครื่องช่วยการหายใจ (repirator) ที่ใช้ตัวกรองอากาศ (filter) สำหรับแก๊สอินทรีย์และไอระเหยในการป้องกันความเข้มข้นของสารในอากาศที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ ให้เก็บชองเหลวที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดผนึกแน่นไม่ให้อากาศเข้า ดูดซับของเหลวที่ยังเหลือคงค้างอยู่ด้วยทรายหรือสารดูดซับเฉื่อย ดังนั้น วิธีการจัดเก็บและวิธีการกำจัดทิ้งให้ขึ้นอยู่กับกฎที่ใช้ควบคุมในพื้นที่นั้น (local regulation) ห้ามล้างสารเคมีลงสู่ท่อระบายน้ำ 

ขึ้นอยู่กับเกณฑ์กำหนด GHS ของ UN (UN GHS Criteria)

flam;flameexcl mark;warncancer;health haz
อันตราย
ของเหลวไวไฟสูงและไอระเหย
สาเหตุ ระคายเคืองตา
อาจเป็นสาเหตุ ระคายเคืองทางเดินหายใจ
โรคมะเร็งเหตุอันควรสงสัย
อาจเป็นอันตรายหากกลืนกินสารนี้หรือได้รับสารนี้ทางการหายใจ 

การขนส่ง
UN Classification
UN Hazard Class: 3; หมายเลขของสหประชาชาติระบุกลุ่มของการหีบห่อสาร (UN Pack Group): II 

การเก็บ
มีความคงทนต่อไฟ แยกจาก strong oxidants, strong acids และ incompatible materials อยู่ในที่เย็น เก็บในที่แห้ง มีการปิดผนึก เก็บรักษาในที่มืด เก็บรักษาเมื่ออยู่ในภาวะเสถียร เก็บรักษาในพื้นที่ที่ไม่มีการระบายหรือมีท่อระบายน้ำ 
การบรรจุ/การหีบห่อ
อัดลม 
1,4-ไดออกเซน ICSC: 0041
กายภาพและรายละเอียด; ข้อมูลสารเคมี

สถานะทางกายภาพของสาร
มีลักษณะทางกายภาพเป็นของเหลว ไม่มีสี มีกลิ่นเฉพาะ 

อันตรายทางกายภาพ
ไอระเหยหนักกว่าอากาศและอาจเคลื่อนตัวเหนือพื้น ซึ่งอาจเกิดการลุกไหม้ระหว่างทางได้ 

อันตรายทางเคมี
สารนี้สามารถกลายเป็นสารในรูปของสารเพอร์ออกไซด์ (peroxides) ซึ่งเป็นสารระเบิด เมื่อสัมผัสอากาศ สารนี้ จะมีปฏิกิริยากับ สารออกซิแดนท์ และ กรดแก่ สารนี้อย่างรุนแรง จะมีปฏิกิริยากับ สารเร่งปฏิกิริยา (คะตะลิสต์) บางชนิด 

C4H8O2สูตรโมเลกุล
มวลโมเลกุล: 88.1
จุดเดือด : 101 องศาเซลเซียส
จุดหลอมเหลว : 12°C
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (น้ำ = 1): 1.03
ละลายในน้ำ: ผสมกันได้
ความดันไอ ที่อุณหภูมิ 20°C: 3.9 กิโลปาสกาล (kPa)
ความหนาแน่นของไอน้ำสัมพัทธ์ (อากาศ = 1): 3.0
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของส่วนผสมระหว่าง ไอระเหย/อากาศ (vapour/air-mixture) ที่อุณหภูมิ 20°C (อากาศ = 1): 1.08
จุดวาบไฟ : อุณหภูมิ 12°C c.c.
อุณหภุูมิที่ติดไฟได้เอง: 180°C
ขีดจำกัดการระเบิด : 2-22.0vol% ในอากาศ
ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวของสารในชั้นน้ำและชั้นออกทานอล (log Pow): -0.27
ความหนืด : 1.17 อัตราส่วนของความหนาแน่นของความหนืด ตารางมิลลิเมตรต่อวินาที (mm²/s) ที่อุณหภูมิ 25°C 


การได้รับสัมผัสและรายละเอียด; ผลกระทบต่อสุขภาพ

ทางผ่านการได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย
สารนี้สามารถถุกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเอาไอระเหยของสารนี้เข้าสู่ร่างกาย และ ผ่านทางผิวหนัง 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสในระยะเวลาสั้น
สารนี้ ทำให้ระคายเคือง ต่อ ตา และ ทางเดินหายใจ หากกลืนสารนี้อาจทำให้อาเจียนและทำให้เกิดปอดอักเสบจากการสำลัก การได้รับสัมผัสสารนี้ที่ระดับสูง สามารถทำให้การรู้สึกตัวลดน้อยลง. 

ความเสี่ยงต่อการหายใจ
ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สารอันตรายนี้จะระเหยปนเปื้อนในอากาศค่อนข้างเร็ว เมื่อฉีดพ่นเป็นละอองฝอย (Spray) หรือทำให้เกิดการกระจายตัวก็จะทำให้ระเหยได้เร็วขึ้น 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสเป็นระยะเวลานานหรือได้รับสัมผัสซ้ำ
สารนี้มีผลต่อผิวหนัง โดยทำให้ผิวหนังแห้งหรือแตก สารนี้อาจมีผลกระทบต่อ ระบบประสาทส่วนกลาง, ไต และ ตับ เป็นไปได้ที่สารนี้อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ 


ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสในการประกอบอาชีพ (การทำงาน)
TLV: 20 ส่วนในล้านส่วน (ppm) กรณีค่าเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน (TWA); (ผิวหนัง); A3 (confirmed animal carcinogen with unknown relevance to humans).
MAK: 37 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3), 10 ส่วนต่อล้านส่วน (ppm); ประเภทของขีดจำกัดสูงสุด (peak limitation category): I(2); ดูดซึมผ่านผิวหนัง (skin absorption) (H); การจำแนกกลุ่มมะเร็ง (carcinogen categor): 4; กลุ่มเสี่ยงตั้งครรภ์ (pregnancy risk group): C.
EU-OEL: 73 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3) , 20 ส่วนในล้านส่วน (ppm) กรณีค่าเฉลี่ยตลอดการทำงาน (TWA) 

สิ่งแวดล้อม
 

ข้อสังเกต
ถ้ามีอาการหายใจลำบาก และ/หรือ มีไข้ ให้รีบไปพบแพทย์
ตรวจสอบสารเปอร์ออกไซด์ก่อนการกลั่น; ถ้าพบสารเปอร์ออกไซด์ให้กำจัด 

ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
  EC Classification
สัญลักษณ์ : F, Xn; R: 11-19-36/37-40-66; S: (2)-9-16-36/37-46; โปรดดูข้อสังเกต: D 

(th)ทั้งนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหภาพยุโรป (European Union) จะไม่รับผิดชอบต่อคุณภาพและความแม่นยำของการแปล หรือการใช้ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล